การบริหารต้นทุนการผลิตและการวางแผนกำไรผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางนางร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน.

Main Article Content

ภาวินีย์ ธนาอนวัช

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบต้นทุนการผลิต กำหนดราคาขายที่เหมาะสม เพื่อหาแนวทางในการบริหารต้นทุนและการวางแผนกำไรให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก (Deep interview) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางนางร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปอาหารผู้ผลิตมันอีกาทอด เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต กำหนดราคาขายและการวางแผนกำไรในรูปแบบการคำนวณทางการบัญชี ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมาชิกจำนวน       25 คน ลักษณะการผลิตเป็นแบบช่วยกันทำภายในกลุ่ม โดยทำเป็นอาชีพเสริม งบประมาณในการจัดตั้งกลุ่มเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตพบว่า การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย การกำหนดราคาขายใช้วิธีกะประมาณ ไม่มีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ศักยภาพการทำระบบบัญชีต้นทุนของกลุ่มทำได้แต่ไม่ถูกต้องตามหลักบัญชีและไม่ครบถ้วน การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพบว่า ต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 24,700 บาทต่อหนึ่งรอบการผลิต การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 6.175 บาท/หน่วย การวางแผนกำไรผลิตภัณฑ์โดยทำการวิเคราะห์ราคาขายจากต้นทุนรวม กรณีขายปลีกราคาขายจะเท่ากับ 25 บาท/หน่วย โดยกำหนดอัตราส่วนเพิ่ม 300 % กรณีขายส่ง ราคาขายส่งจะเท่ากับ 20 บาท/หน่วย โดยกำหนดอัตราส่วนเพิ่ม 220 % แนวทางการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า ต้นทุนด้านการผลิตจะใช้วัตถุดิบที่ปลูกเองภายในชุมชนทั้งหมด 100 % แรงงานที่ทำการผลิตเป็นการรวมกลุ่มจากชุมชนที่ว่างจากการทำงานประจำ โดยจะได้รับผลตอบแทน      จากกำไรเมื่อปิดบัญชีรายเดือน ด้านการตลาดใช้แนวทางการประชาสัมพันธ์จากกลุ่มชุมชนการออกบูท OTOP          ตามห้างสรรพสินค้า ด้านการเงินใช้แนวทางการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า เพื่อลดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า ทำบัญชีรายรับรายจ่ายและจ่ายชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนดเวลาด้านบริหารจัดการ มีการคิดค้นหาวิธี     ในการนำเศษซากวัตถุดิบมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการนำเปลือกมันที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อขายให้เกษตรกรในชุมชนซื้อปุ๋ยหมักได้ในราคาถูก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560) รายงานการประชุมของความช่วยเหลือเกษตรกร. การประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2560 24 มีนาคม 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง

กิ่งกนก รัตนมณีและคณะ. (2560). การศึกษาการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 81

นวพร บุศยสุนทรและคณะ. (2561). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : แมคกรอฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์

ไพรส์ แอลแอลซี.

ประภัสสร กิตติมโนรม. (2560). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

เพ็ญนภา หวังที่ชอบ. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและระบบบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา :

กลุ่มจักสานหวาย บ้านวัดนาค ตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1), 79

ศศิวิมล มีอำพล. (2558). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

ศรีสุดา อาชวานันทกุล. (2559). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). ส่องรายได้เงินสดเกษตร ปี 61 ผลงานรัฐ

ดันรายได้ เกษตรกรเพิ่มขึ้น ผลผลิตเกษตรได้คุณภาพ. ค้นเมื่อ สิงหาคม 12, 2562,

จาก https://www.oae.go.th.

Anton Ovchinnikov. (2011). Revenue and Cost Management for Remanufactured Products.

Production and Operations Management. Blackwell Publishing Inc.

Hanwen Chen & Jeff Zeyun Chen & Gerald J. Lobo & Yanyan Wang. (2010), "Effects of Audit

Quality on Earnings Management and Cost of Equity Capital: Evidence from China.

"/Electronic copy available at:https://ssrn.com/abstract