โอกาส และความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านวิทยุระบบอนาล็อกสู่การกระจายเสียง ในระบบดิจิทัล (Digital Audio Broadcasting)

Main Article Content

ณัฎฐ์ดนัย ไค่นุ่นภา
พนิดา จงสุขสมสกุล

Abstract

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการการเปลี่ยนผ่านจากวิทยุระบบอนาล็อกสู่การกระจายเสียงในระบบดิจิทัล (Digital Audio Broadcasting) โดยเป็นการศึกษาแนวคิดพัฒนาการและสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลในประเทศไทย และหาแนวทางการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลในประเทศไทย ทำให้ทราบถึงความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกสู่การกระจายเสียงระบบดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่อยู่ในกระบวนการทดลองการกระจายเสียงดิจิทัลของ กสทช. จำนวน 13 คน ใน 9 จังหวัดนำร่อง และสัมภาษณ์นักวิชาการ ด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 5 คน และผู้กำหนดนโยบายที่เป็นตัวแทนจาก กสทช. 2 คน รวมจำนวน20 คน ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีโอกาสและความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีการกระจายเสียงในระบบดิจิทัลแต่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากร การลงทุนในระบบอุปกรณ์และเครื่องมือที่เป็นดิจิทัล แต่ปญั หาและอุปสรรคสำคัญ คือ การหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนและการเพิ่มช่องทางการเปิดรับสัญญาณการกระจายเสียงในระบบดิจิทัลกับพฤติกรรมของกลุ่มผู้ฟังวิทยุที่ปัจจุบันมีเครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามาทำหน้าที่แทนสื่อกระจายเสียงและสื่อโทรทัศน์ ที่ยังพบว่ามีข้อจำกัดบางประการแต่วิทยุดิจิทัลจะสามารถเชื่อมโยงการใช้งานในเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เข้ากับพื้นที่การกระจายเสียงดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมทุกสถานที่และเวลา

Article Details

Section
Publication Ethics

References

กรกฎ จำเนียร. (2562). การพัฒนาทักษะการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการผลิตงานข่าวของนักสื่อสารชุมชน.

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี. 8 (1), 16

กาญจนา แกวเทพ . (2541). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: อินฟินิตี้เพรส

กุลกนิษฐ์ ทองเงา. (2558). ความต้องการรายการวิทยุในอนาคตของสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10 (2), 1-12.

ฐิติ ลีลาโรจน์ และมนต์ ขอเจริญ. (2559). กลยุทธ์การตลาดเชิงกิจกรรมของคลื่นวิทยุ 88.5 สบายดีเรดิโอ. ค้นเมื่อ

สิงหาคม 22, 2562, จาก http://www.dpu.ac.th/graduate/upload/content/files/ %E0%B8%9B% E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%20%E0% B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%202559/vol5-1-64.pdf

ณัฎฐ์ดนัย ไค่นุ่นภา. (2558). การวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด

กาญจนบุรี . กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ธิราวดี ธนะรังสฤษฎ์. (2547). รูปแบบการบริหารจัดผังรายการเพื่อการศึกษาของสถานีวิทยุศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญามหาบัณฑิต ว.ม., สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และ

สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประจวบ เพิ่มสุวรรณ. (2556). ปัจจัยของคนรุ่นเจเนอเรชั่นวายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร.

วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 8 (2), 46-55.

ปุณณภา ศุภตระการสุข. (2555). การจัดการธุรกิจของสถานีวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.

ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นศ.ม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี

มูฮำมัด บิลหะยี อาบูบากา. (2554). ศึกษารูปแบบการสื่อสู่ชุมชนและการบริหารสถานีของวิทยุชุมชนคนนิบง

อ.เมือง จ.ยะลา อย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วีรศักดิ์ เชิงเชาว์. (พฤศจิกายน 2551). ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสื่อสาร

โทรคมนาคม. ค้นเมื่อ มกราคม 11, 2559, จาก http://www.prd.go.th/

ศศิวิมล ช่วยดำรง. (2562). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 8 (1), 157-169

สาโรจน์ แววมณี. (2556). การเปลี่ยนผ่านสู่การกระจายเสียงวิทยุระบบดิจิตอลของประเทศไทย. ค้นเมื่อ

พฤศจิกายน 11, 2561, จาก http://nbtcrights.com/wp-content/uploads/2015/01/.56.pdf

อรศรี ศรีระษา และคณะ. (2561). รายงานผลการศึกษาการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล

(Digital Radio Broadcasting). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง

กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

______. (2559) การรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล Digital Radio Broadcasting. วารสาร

กสทช. ประจำปี 2559. 493-525

McQuail, D. (1987). Mass Communication Theory: An Introduction. 2 nd Edition London: Sage

Publications.

Patton, M. Q. (1990). Qualitative Evaluation and Research Method. 2nd ed. California: SAGE

Publishing.