การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อตาลสุกหยี

Main Article Content

แสงแข สพันธุพงศ์

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อตาลสุกในหมู่บ้านห้วยสะพาน ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี โดยศึกษาอัตราส่วนเนื้อตาลสุกต่อเนื้อสับปะรดที่เหมาะสมในการผลิตเนื้อตาลสุกหยี 4 ระดับ คือ ร้อยละ 80:20 70:30 60:40 และ 50:50 ของปริมาณน้ำหนักเนื้อตาลสุก ตรวจสอบคุณภาพของเนื้อตาลสุกหยี ได้แก่ การยอมรับทางประสาทสัมผัส  ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (aw) ค่าสี อายุการเก็บรักษา ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในผลิตภัณฑ์เนื้อตาลสุกหยีพบว่า การยอมรับทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9 - point Hedonic Scale ของสูตรทั้ง 4 ระดับ มีคะแนนความชอบปานกลางถึงชอบเล็กน้อย ไม่แตกต่างกันทางสถิต (p>0.05) สูตรที่ได้รับการยอมรับด้านต่างๆ มากที่สุด คือ ร้อยละ 80:20 ซึ่งมีปริมาณการใช้เนื้อตาลสุกมากที่สุด มีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (aw) ต่ำที่สุด คือ 0.55 จะช่วยป้องกันการเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้อาหารมีความปลอดภัยจากการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ค่าสีของทุกระดับพบว่า เมื่อมีการเพิ่มปริมาณของเนื้อสับปะรดที่มากขึ้น ค่าความเป็นสีแดง (a*)  และค่าความเป็นสีเหลือง (b*)  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ค่าความสว่าง (L*) ลดลง ผลการวิเคราะห์เนื้อสัมผัสพบว่า ปริมาณเนื้อสับปะรดที่เพิ่มทำให้ค่าความแข็ง ความยืดหยุ่น การเกาะรวมตัวของผลิตภัณฑ์ และความเหนียว ลดลง จึงทำให้อัตราส่วนที่ร้อยละ 80:20 มีค่ามากกว่าระดับร้อยละ 70:30 60:40 และ 50:50 การศึกษาอายุการเก็บรักษาได้เลือกอัตราส่วนที่ร้อยละ 80:20 และสูตรควบคุม มาทำการศึกษาพบว่า ไม่พบการเจริญของจุลินทรีย์ทั้งหมดและยีสต์ รา ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 30 วัน และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด 0.038±0.00 ไมโครกรัมกรดแกลลิกต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่าง และปริมาณสารเบต้าแคโรทีน 0.775±0.26 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งมีปริมาณน้อยจึงทำให้ไม่มีประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระเท่าที่ควร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา ไชยนอก. (2561). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน “สับปะรดผลไม้รักษาโรค”. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2561,
จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/429.
จินตนา วิบูลย์ศิริกุล และ พรชนก ชัยชนะ. (2560). คุณภาพเนื้อตาลสุกที่ผ่านการให้ความร้อน. เพชรบุรี :
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
เชาวลิต อุปฐาก วไลภรณ์ สุทธา และปานทิพย์ ผดุงศิลป์. (2556). การศึกษากรรมวิธีการทำเปลือกแตงโมปรุงรส. กรุงเทพฯ :
สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธเนศ ว่องอาทรกุล. (2557). การสกัดสารเบต้าแคโรทีนจากกระแตไต่ไม้ ผักกูด และผักแว่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ปรรัตน์ ศุภมิตรโยธิน. (2556). เทคโนโลยีผักและผลไม้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พรพล รมย์นุกูล. (2545). การถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต และดร.ไพศาล วุฒิจำนงค์. (2545). การประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร.
เอกสารประกอบการสัมมนา-อบรมวิชาการด้านอุตสาหกรรมอาหาร. วารสารจาร์พา, 9 (68), 48-63.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลไม้หยี 521/2547. กรุงเทพฯ :
กระทรวงอุตสาหกรรม.
เสาวลักษณ์ จิตรบรรเจิดกุลและนพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา. (ม.ป.ป.). การปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้กวน. สงขลา :
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลานครินทร์.
Albuquerque T. L, Silva J. I. J. and Macedo G. R., Rocha M. V. P. (2014). Biotechnological production of xylitol from
lignocellulosic wastes: A review Process Biochemistry. Journal Article In AGRIS Since, 49, 1779–1789.
Akowuah, G.A., Ismail, Z., Norhayati, I. and Sadikun, A. (2005). The effects of different extraction solvents of varying
polarities of polyphenols of Orthosiphon stamineus and evaluation of the free radical-
scavenging activity. Food Chemistry, 93, 311-317.
Alwis D.D.D.H, Chandrika U.G., Jayaweera P.M. (2015). Spectroscopic studies of neutral and chemically oxidized
species of -carotene, lycopene and norbixinin CH2Cl2: Fluorescence from intermediate compounds.
Journal of Luminescence, 158, 60–64.
AOAC. (2005). Official methods of analysis of AOAC international. (18th ed). Washington, D.C.:
The Association of Official Analytical Chemists. AOAC international.
Kamiloglu S., Pasli A. A. , Ozcelik B. , Camp J. V. and Capanoglu E. (2015). Influence of different
processing and storage conditions on in vitro bioaccessibility of polyphenols in black
carrot jams and marmalades. Food Chemistry, 186, 74–82.
Nagata, M. and Yamashita, I. (1992). Simple method for simultaneous determination of chlorophyll and
carotenoids in tomato fruit, Journal of the Japanese Society for Food Science and Technology,
39, 925-926.