Journal Information
Publication Ethics
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่เผยแพร่ได้รับความเห็นชอบในการส่งบทความจากผู้ร่วมนิพนธ์ (ถ้ามี)
3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้เป็นไปตามรูปแบบ องค์ประกอบและหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด
4. ผู้นิพนธ์ที่ปรากฏชื่อในบทความต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาค้นคว้า การวิจัยและมีส่วนร่วมในการเขียนบทความจริง
5. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานผลการวิจัยหรือผลการค้นคว้าทางวิชาการด้วยความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ต้องไม่บิดเบือนข้อมูล โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการจนละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิมนุษยชน
6. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่มีการนำมาใช้ในบทความของตนเอง ซึ่งต้องปรากฎในการอ้างอิงและบรรณานุกรมทุกครั้ง
7. ผู้นิพนธ์ต้องไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับหรือในรูปแบบภาษาอื่น ๆ รวมทั้งไม่คัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตนเองโดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ
8. ผู้นิพนธ์ต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาบทความและการดำเนินงานของวารสาร
9. บทความที่ไม่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ถือว่าเป็นอันตกไป และไม่สามารถนำมาประเมินใหม่อีกครั้งไม่ว่ากรณีใดๆ
10. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าในบทความ
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร
1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่กลั่นกรองและพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่รับผิดชอบ
2. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เผยแพร่บทความที่เคยถูกตีพิมพ์มาแล้ว
3. บรรณาธิการวารสารต้องชี้แจง หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer review) และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ
4. บรรณาธิการวารสารต้องไม่มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาบทความ
5. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ตัดสินใจในการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารที่รับผิดชอบ
6. บรรณาธิการมีหน้าที่เผยแพร่บทความในวารสารซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ รูปแบบและองค์ประกอบของบทความตามที่วารสารกำหนด
7. บรรณาธิการวารสารต้องมีช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
8. บรรณาธิการต้องทำหน้าดูแลเพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงกระบวนการพิจารณาและการประเมินบทความไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนดตามหลักทางวิชาการ โดยปราศจากอคติ และเป็นไปตามข้อเท็จจริง ไม่จูงใจหรือให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เบี่ยงเบนผลการประเมินโดยที่ไม่มีข้อมูลมารองรับอย่างเพียงพอในกกระบวนการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินบทความควรพิจารณาประเมินบทความในสาขาความเชี่ยวชาญของตน โดยพิจารณาความสำคัญของสาระสำคัญของบทความรวมถึงคุณภาพ การวิเคราะห์และความเข้มข้นของบทความ
3. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
4. ผู้ประเมินต้องประเมินบทความโดยวิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะเนื้อหาเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้นิพนธ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขบทความโดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นสำคัญ
5. ผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
6. หากผู้ประเมินบทความทราบว่ามีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบด้วย
7. ผู้ประเมินบทความต้องไม่แทรกแซงกระบวนการประเมินบทความ