ปัญหาและอุปสรรคการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย

Main Article Content

เจษฎา อธิพงศ์วณิช

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย 2) ศึกษาสภาพแวดล้อม ปัญหา อุปสรรคของการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย และ 3) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานด้านการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้หญิงและผู้ชาย ที่มีอายุ 21-30 ปี ที่เคยซื้อเครื่องสำอาง ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา และอาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความตรงเชิงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.76-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์การถดถอยพหุด้วยวิธี Enter
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย พบว่า อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการดำเนินการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย
                2. สภาพแวดล้อม ปัญหา อุปสรรคของการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย พบว่า มีข้อจำกัดในด้านการขายออนไลน์ ระบบแบบแผนของข้อมูลจัดจำหน่าย ความน่าเชื่อถือในตัวผลิตภัณฑ์การโฆษณาที่จำกัด การเข้าถึงผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม คู่แข่งในตลาดทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมาก การบริการหลังการขายไม่ดี ผู้ผลิตยังไม่พร้อม รวมถึงวัตถุดิบที่นำมาผลิตไม่ค่อยมีคุณภาพ ความติดแบรนด์ของลูกค้า ไม่เปิดใจรับนำเข้าของหนีภาษี ซื้อขายของปลอม ราคาแพงเกินคุณภาพ ใช้สารปนเปื้อน การโฆษณาประชาสัมพันธ์ไม่สร้างความจดจำให้ผู้ใช้ ผู้ผลิตไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือการควบคุมในปัจจุบันที่เข้มงวด
                3. แนวทางการดำเนินงานด้านการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าสนใจ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ช่วยกันแจ้งเบาะแสแหล่งผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ สร้างความแปลกใหม่ในตัวผลิตภัณฑ์ ตอบสนองให้ตรงความต้องการของตลาดและวิเคราะห์เป้าหมายของลูกค้านำเสนอข้อมูลสินค้าประเภทเครื่องสำอางผ่านสื่อต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบัน เผยแพร่ในทุกสื่อที่สามารถเข้าถึงได้


* อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 10250
Corresponding author : aj.boy@hotmail.com

Article Details

How to Cite
อธิพงศ์วณิช เ. . . (2020). ปัญหาและอุปสรรคการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 96–107. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.33
บท
บทความวิจัย

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.
ชีวรรณ เจริญสุข. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค .[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2561, จาก https://MAYMAYNY.WORDPRESS.COM
ฐนิตา ตู้จินดา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศกลุ่มอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐยา สินตระการผล. (2560). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
เถ้าแก่ใหม่. (2561). 10 เคล็ดไม่ลับทำธุรกิจเครื่องสำอางให้ได้เงินแสน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2561 จาก https://taokaemai.com/10-tips-for-cosmetic-business/
ทนายเจมส์. (2561). โฆษณาเกินจริง . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2561 จาก https://www.thairath.co.th/content/1076947.
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : ซีวีแอลการพิมพ์.บริษัท เอสเธติค ซีเครท (แอท-ซี) จำกัด. (2561). การแข่งขันในธุรกิจเครื่องสำอาง โอกาสยังพอมีอยู่ไหม ? [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.at- z.co.th/ content.
แบรนด์บัฟเฟ็ท. (2560). “เล็ก” แต่ “ใหญ่” พลังแห่ง “Micro Influencer” เมื่อผู้บริโภคไม่ฟังแบรนด์ ข้อมูลจากผู้ใช้จึงสำคัญที่สุด . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/06/micro-influencer-marketing-revu/
แบรนด์อินไซต์. (2561). เจาะลึกตลาดเครื่องสำอาง และความงามในไทย ยุคที่ผู้บริโภคต้องการสวยเร่งด่วน . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 จาก https://brandinside.asia/mkt-gantar-research-1/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) . (2561). สารเคมีกับเครื่องสำอาง ตามกฎ APA Style [ออนไลน์]. จาก http://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7105-2017-06-04-04-20-19
สุนัดดา โยมญาติ. (2560). เครื่องสำอาง สวยอย่างปลอดภัย . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2561 จาก http://biology.ipst.ac.th/?p=3446
Cochran, W.(1974). Sampling Techniques. (2nd ed.). New Delhi: Wiley Eastern
Matin, A. K. (2007). Consumer Behavior. New Age International.
Ray, W. (2006). Consumer Behavior. Italy: Cengage Learning EMEA.