สภาพปัญหาความรุนแรงทางสังคมของเยาวชนในสื่อโซเซียลมีเดีย

Main Article Content

วีรศักดิ์ นาชัยดี
มาลินี นาคใหญ่

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความรุนแรงทางสังคมของเยาวชนในสื่อโซเซียลมีเดีย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการใช้การสนทนากลุ่ม ที่ไม่ใช่กลุ่มเดียวกันกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 10 คน และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จำนวน 10 คน โดยการใช้การพรรณนาวิเคราะห์
     ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาความรุนแรงทางสังคมของเยาวชนในสื่อโซเซียลมีเดียประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ (1) การรับรู้ความรุนแรงในสื่อโซเซียลมีเดีย เยาวชนพบเห็นการนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหาความรุนแรงจำนวนมาก ทั้งที่เป็นภาพนิ่งมีข้อความบรรยาย เสียงประกอบ และภาพวิดีโอที่มีการแชร์กันมาก เยาวชนพบเห็นข่าวที่มีเนื้อหาความรุนแรงในสื่อโซเซียลมีเดีย มีลักษณะที่เกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย เกิดจากความก้าวร้าว เกิดจากเรื่องของเพศ และเกิดจากค่านิยม ความเชื่อ (2) รูปแบบการนำเสนอข่าวของสื่อโซเซียลมีเดียที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก นึกคิด และพฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้ดู มี 5 รูปแบบ ดังนี้ 1.การนำเสนอแบบการนำรูปภาพความรุนแรง และใช้ภาษามาบรรยายเหตุการณ์ 2. รูปแบบคลิปวิดีโอที่ตัดต่อทำเสนอในรูปแบบสกู๊ปข่าว 3. การนำคลิปที่แอบถ่ายนำมาโพสต์มีผู้ประกาศข่าวให้ความคิดเห็นประกอบข่าว 4. การนำคลิปเหตุการณ์จริงมานำเสนอพร้อมเรียบเรียงเป็นข้อเขียนข่าว 5. การเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผู้ถ่ายคลิปเป็นผู้เล่าเหตุการณ์อย่างละเอียด (3) ผลกระทบที่เกิดจากการรับรู้ข่าวที่ส่งผลต่อความรุนแรงของเยาวชน มีผลทางด้านจิตใจทำให้รู้สึกกลัว ระแวง จิตใจหดหู่ เมื่อเห็นซ้ำ ๆ จนเกิดความเคยชินรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ จึงเกิดเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ การแก้ปัญหาและป้องกันของเยาวชนจะต้องมีการรับสื่อแบบมีสติ มีวิจารณญาณในการรับสื่อ เสพสื่อให้น้อยลง จัดการตัวเองหันไปทำกิจกรรมอื่นบ้าง


1อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
2*อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

Article Details

How to Cite
นาชัยดี ว., & นาคใหญ่ ม. . (2024). สภาพปัญหาความรุนแรงทางสังคมของเยาวชนในสื่อโซเซียลมีเดีย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(1), 283–293. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2024.21
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ .(2563). รายงานการพัฒนา

เด็กและเยาวชนประจำปี 2562. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก

https://www.dcy.go.th/dcy/webnew/upload/news/news_th_20200510134614_1.pdf.

จารุวัจน์ สองเมือง (2560). พฤติกรรมการบริโภคข้อมูลข่าวสารการใช้ความรุนแรงผ่านสื่อดิจิทัลของเด็ก และ

วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อแนวคิดการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา. วารสารศาสตร์, 13(2). 74-129.

ซาอีดะห์ เกศา (2558). วัยรุ่นกับความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 6

มกราคม 2565 ,จาก https://core.ac.uk/download/pdf/32431907.pdf.

ตฤณห์ โพธิ์รักษา (2565) .อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมรุนแรงของเด็กและเยาวชน. วารสารรัฐศาสตร์

รอบรู้ และสหการ.5 (2).97-113.

ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ และณีรนุช วงค์เจริญ (2564). สถานการณ์สื่อและอิทธิของสื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความ รุนแรงของเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข,30 (2) 99-210.

เลอพร ศุภสร (2562).การเปิดรับข่าวอาชญากรรมของเด็กและเยาวชนศึกษาเฉพาะกรณีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์. 6(2).150-167.

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม.(2563). สถิติคดี สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและ

ครอบครัวจังหวัดนครปฐม.[ออนไลน์].ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก http://www.nkpt-ju.ago.go.th/index.php/2014-05-01-04-08-20.

อานุรักษ์ เขื่อนแก้ว และอัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ (2562) .พื้นที่การแสดงออกต่อข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงในเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว.วารสารศาสตร์.13(2).74-129.

Mr Dragan Popadic and Dobrinka Kuzmanovic (2013).Utilization of Digital Technologies, Risks, and Incidence of Digital Violence among Students in Serbiaummary.[Online].

Retrieved January 5, 2022, from: https://www.unicef.org/serbia/media/7191/file/Utilisation%20of%20digital%20technologies,%20risks,%20and%20incidence%20of%20digital%20violence.pdf.

Stephen W. Littlejohn and Karen A. F. (2008) Theories of Human Communication. (9th Ed) Canada: Wadsworth Publishing.

World Health Organization. (2002). World Report on Violence and Health. [Online]. Retrieved

February 15, 2022, from: https://www.who.int/publications/i/item/9241545615.