การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อุมาวดี เดชธำรงค์
ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี
ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี
สามารถ สินทร

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลลำปะทาว ตำบลซับสีทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้นำกลุ่ม 2 คน และสมาชิกกลุ่ม 13 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลลำปะทาว ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา อายุระหว่าง 51-59 ปี ประกอบอาชีพหลัก คือ ทำไร่ อาชีพรอง คือ รับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 11,001 บาทขึ้นไป และส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการประกอบอาชีพเลี้ยงปลานิล 3 ปีขึ้นไป 2) เกษตรกรมีช่องทางในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออฟไลน์อย่างเดียว การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1. การกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มเข้าใจถึงความสำคัญของการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ 2. การพัฒนาทักษะการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ 3. การประยุกต์ใช้ช่องทางการตลาดออนไลน์ และ 4. การเริ่มกระบวนการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้ Facebook page เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รองลงมาคือร้านค้า Shopee โดยใช้ชื่อเพจและชื่อร้านค้า คือ “ปลานิลลำปะทาว”


1วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2-4คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Article Details

How to Cite
เดชธำรงค์ อ., สุธรรมดี ฉ., สุธรรมดี ด., & สินทร ส. (2024). การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(1), 229–243. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2024.17
บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง. (2567). Monitoring Report สินค้าปลานิล&ผลิตภัณฑ์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.at/DZi5p

เกวลิน หนูฤทธิ์. (2563). สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ในปี 2563 และแนวโน้มปี 2564. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566, จาก http://shorturl.asia/T5WU7

ชัยนาท ผาสอน และวินิต ชินสุวรรณ. (2558). การพัฒนาอุตสาหกรรมเสื่อกกบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. ประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558, 484-490.

ณัชชา ศิรินธนาธร และ ธีรเดช ทิวถนอม. (2565). กลยุทธ์และการพัฒนาการสื่อสารการตลาดทางเลือก

สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 71-90.

ทิพวรรณ สะท้าน พนามาศ ตรีวรรณกุล และเมตตา เร่งขวนขวาย. (2564). การตัดสินใจของผู้บริโภคต่อการ

ซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 52(1), 11-19.

นิชาดา บรรเด็จ. (2562). แนวโน้มการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าเกษตรของประเทศไทย.วารสาร

เครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 38-53.

ปริญญา นิลรัตนคุณ และไพโรจน์ วิไลนุช. (2566). กลยุทธ์การสร้างความสำเร็จในการสื่อสารการตลาดของ

ธุรกิจออนไลน์. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 13(2), 274-284.

เพียงแข ภูผายาง นราศักดิ์ ภูผายาง และสัญชัย รำเพยพัด. (2564). ปัญหาการเลี้ยงปลานิลกระชังในเขื่อนลำ

ปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 388-397.

ภาสกร รอดแผลง. (2564). การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์งอบกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานงอบ

ไทยลาวแง้วทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 35-45.

วิไลภรณ์ สำเภาทอง. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตเวชสำอาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยภูมิ. (2560). รายงานประจำปี 2558-2559. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12

กันยายน 2566, จากhttps://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20190612172458_1_file.pdf

สยามรัฐ. (2564). สกสว.หนุนวิจัยยกระดับการเลี้ยงปลานิลเพิ่มมูลค่า. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566,

จาก https://siamrath.co.th/n/134191

สุจิตตา หงษ์ทอง สมควร สงวนแพง ณัฐกานต์ ธรรมอุโมงค์ คันฉัตร เนตรธิยา และธัญวิชญ์ วันต๊ะ. (2562). โซ่

อุปทานปลานิลของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและต้นทุนต่อหน่วย กรณีศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 16(1), 180-199.

สุระเชษฐ์ สุทธิบุตร พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส และพระปราโมทย์ วาทโกวิโท. (2563). การส่งเสริมการขายสินค้าชุมชนด้วยการตลาดออนไลน์โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8, 173-184.

สุรเดช สดคมขำ. (2564). เกษตรกรชัยภูมิเลี้ยงปลานิลในบ่อดินสร้างตลาดหลากหลายเกิดรายได้ยั่งยืน.

[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 5 ตุลาคม 2566, จาก https://www.technologychaoban.com/fishery-Technology/article_139797

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการดำเนินงานของ สวทช.

[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/20220914-nstdb-report-q3-65.pdf

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญูสาร, 44(1), 36-42.

Bose, S. C., & Kiran, R. (2021). Digital marketing: a sustainable way to thrive in competition of agriculture marketing. Bioinformatics for agriculture: High-throughput approaches, 135-144.

Deshmukh, S., & Patil, S. (2021). Transformation of Indian agriculture with digital marketing. International Journal of Agriculture Sciences, 13(10), 10928-10931.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Journal of Educational Research, 2, 49-60.