การบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

นัทศมพล มณฑ์ณภัคพงษ์
ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ
สถิตย์ นิยมญาติ
กมลพร กัลยาณมิตร

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร 2. ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร 3. หาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร ที่เหมาะสมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
     รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 ท่าน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่ใช้แรงงานต่างด้าว จำนวน 15 ท่าน กลุ่มที่ 2 กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ จำนวน 10 ท่าน กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอนตามลำดับ คือ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการการจัดระเบียบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
     ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวจังหวัดสมุทรสาคร ใน 4 ด้าน คือ ด้านค่าจ้างค่าชดเชยในทำงานของแรงงานต่างด้าว ด้านการจัดสวัสดิการ ด้านการพัฒนาฝีแรงงานต่างด้าว และด้านความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าว ตามที่กฎหมายกำหนด 2. ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว พบการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว ปัญหาที่เกิดจากการมาอยู่รวมตัวกันเป็นชุมชนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าว การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศได้ 3. แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการภาค อุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร ที่เหมาะสมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ การดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว การจัดการแรงงานทั้งระบบ พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ การรณรงค์ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างต่างด้าวอย่างเป็นธรรม เสริมสร้างจิตสำนึกทัศนคติ และส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวร่วมมือในการจัดระเบียบร่วมกัน


1*นักศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2-4คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Article Details

How to Cite
มณฑ์ณภัคพงษ์ น. ., สิริพรวุฒิ ณ., นิยมญาติ ส., & กัลยาณมิตร ก. (2024). การบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(1), 197–212. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2024.15
บท
บทความวิจัย

References

กรชนก ชื่นใจ. (2562). การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระนองเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ. หลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก.

นภาพร ภมร และ พัชรี ตันติวิภาวิน. (2563). การบริหารแรงงานจากประเทศพม่าของผู้ประกอบการคนไทย

ในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(1), 17–27.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2566). ผลกระทบทางด้านสังคมจากการจ้างแรงงานต่างด้าวของไทย. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 12(1), 33-47.

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์. (2560). กา รกำหนดหลักเกณฑ์การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ

ไทย.กรุงเทพฯ: กองบรรณาธิการประชาไท.

ภัคสิริ แอนิหน. (2561). แรงงานต่างด้าว:การบริหารและการจัดการในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 2(2) ,117-132.

ศุภสิทธิ์ เลิศบัวสิน. (2560). โครงการศึกษาวิจัยความต้องการแรงงานในพื้นที่เขตภาคตะวันออกใน 5 ปี

ข้างหน้า (พ.ศ. 2561-2565). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร. (2565). การทำงานของคนต่างด้าวสมุทรสาคร. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 28

สิงหาคม 2566, จาก https://www.doe.go.th/samutsakhon/

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร. (2566). ข้อมูลจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาต

ประกอบกิจการแยกตามประเภทอุตสาหกรรม. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก

https://samutsakhon.industry. go.th/th/cms-of-287.

อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย แรงงานต่างด้าวของพยาบาลวิชาชีพห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 10(1), 1-13.

Dessler, G. (2004). Management, Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders. New Jersey: Pearson Education.

Kermally, S. (2004). Developing and Managing Talent. West Bengal, India: Viva Books

Private Limited.

Mandy, R.W. and Noe, R. M. (2008). Human Resource Management. (10th ed). New York: Pearson.

Noe, R. A., Hollenbeck J. R., Gerhart B. and Wright P. M. (2006). Human Resource Management - Gaining a Competitive Advantage - International Edition. New York: McGraw-Hill Publisher.