ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในจังหวัดนราธิวาส หลังสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

สุมาลี กรดกางกั้น
ชลกาญจน์ สถะบดี
มธุรส ทองอินทราช
รุ่งศิริ ผดุงรัตน์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในจังหวัดนราธิวาส หลังสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในจังหวัดนราธิวาส หลังสถานการณ์โควิด-19ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุด้วยวิธีแบบขั้นตอน
     ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในจังหวัดนราธิวาส หลังสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในจังหวัดนราธิวาส หลังสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดส่งผลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในจังหวัดนราธิวาส หลังสถานการณ์โควิด-19 อย่าง่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 75.30


1,2,3,4อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, นราธิวาส
*correspondent author: sumalee.g@pnu.ac.th

Article Details

How to Cite
กรดกางกั้น ส., สถะบดี ช., ทองอินทราช ม., & ผดุงรัตน์ ร. . (2024). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในจังหวัดนราธิวาส หลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(2), 212–222. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.38 (Original work published 30 ธันวาคม 2023)
บท
บทความวิจัย

References

ชนิตา เสถียรโชค. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์บน Lazada. กรุงเทพมหานคร : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยะวรรณ แซ่อึ้ง. (2562). ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอฟพิเคชั่น Shopee. กรุงเทพมหานคร : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสยาม.

วสุธร มั่งมีมั่น. (2563). การซื้อสินค้าออนไลน์อุปโภคบริโภคในยุคโควิด ในอำเภอเมืองสุโขทัย. สุโขทัย : สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิวิศนา โชติศักดิ์. (2564). ความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Lazada ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีรัตน์ ปณิศา มีจินดา จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา.

สุทามาศ จันทรถาวร. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า บน Facebook ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 3(4), 616 - 635.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.

Cochran, W.G. (1977). Wiley: Sampling Techniques. (3rd ed.) New York: John Wiley and Sons.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9th ed.) New Jersey : Asimmon and Schuster.

Kotler, P., and Keller, K.L. (2012). Marketing management. (14 th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.