การพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ธันย์ ชัยทร
พิชญ์พิสุทธิ์ ทิศอาจ
ธนะสาร พาณิชยากรณ์

บทคัดย่อ

     การศึกษาเรื่อง การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวแบบออนไลน์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครปฐม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์เกษตรกรผู้จำหน่ายมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดนครปฐมในการเก็บข้อมูล
     ผลการศึกษา พบว่า ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่ใช้ช่องทางการจำหน่ายสินค้าแบบออฟไลน์ เช่น จำหน่ายหน้าร้านที่ตลาดใกล้บ้าน หรือจำหน่ายหน้าสวน และการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายแบบออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก มีผู้เข้าชมเพจมากถึง 1,000 – 5,000 คนต่อวัน และมียอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง สามารถเพิ่มยอดขายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 59.6 ต่อวัน


1,2,3วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, นครปฐม
Corresponding author: thun.ch@ssru.ac.th

Article Details

How to Cite
ชัยทร ธ. ., ทิศอาจ พ., & พาณิชยากรณ์ ธ. (2024). การพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(2), 93–103. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.29 (Original work published 30 ธันวาคม 2023)
บท
บทความวิจัย

References

กณิกนันต์ กาญจนพันธ์. (2553). กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนโลกออนไลน์ของเว็บไซค์หมูหินดอทคอม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

แก้วมณี อุทิรัมย์ สายฝน อุไร และอุดมพงศ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2562). รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก บ้านขุมดิน ตำบลน้ำใส อำเภอจตุรพักตร์พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ .11(2), 19-34.

น้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ. (2543). การใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ในระยะเริ่มต้นในเขตกรุงเทพมหานครกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฐมชัย คชะสุต, เอมอร อังสุรัตน์, ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์, และสุรพล จารุพงศ์. (2560). การเพิ่มศักยภาพ การผลิตมะพร้าวอ่อนเพื่อการส่งออกตลอดโซ่อุปทานในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 531-545.

ประสิทธิ รัตนพันธ์ มณีรัตน์ รัตนพันธ์ และจารินี แซ่ว่อง. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(4), 42-51.

ภาสกร รอดแผลง. (2564). การพัฒนาช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ขอบออนไลน์กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานงอบไทยลาวแง้วทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(3), 35-45.

มาลินี คำเครือ และธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 6(1), 1-8.

รัฐพล สังคะสุข กัลยา นาคลังกา วิริยาภรณ์ เอกผล และวรพรรณ สุรัสวดี. (2560). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏ

พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(1), 38-49.

วีระนันท์ คำนึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย : กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(2), 32-45.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2011). Principles of Marketing. (14th ed.). Boston: Pearson Prentice-Hall.