การศึกษาพฤติกรรม ความพึงพอใจ และความสุขในการเข้าร่วมแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มโอเพนแช็ต Happy Money Happy Market by RMUTT

Main Article Content

รุจิกาญจน์ สานนท์
ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์
สินิทรา สุขสวัสดิ์

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรม ความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความสุขก่อนและหลังการใช้บริการแอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มโอเพนแช็ต happy money happy market by RMUTT เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มโอเพนแช็ต happy money happy market by RMUTT กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการ แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มโอเพนแช็ต happy money happy market by RMUTT ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทำการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้คือสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบความแตกต่างรายคู่
     ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการใช้งานตามเวลาที่สะดวกและใช้บริการทุกวัน สินค้าที่เลือกซื้อมากที่สุดคือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการเข้าซื้อสินค้าโดยเฉลี่ย 1,001-1,500 บาท ซื้อสินค้าให้ตนเองและบุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อมากที่สุดคือ เพื่อน ความพึงพอใจในการใช้บริการคือ มีความพึงพอใจในด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมาคือบุคลากรผู้ดูแลกลุ่มโอเพนแช็ต ส่วนความสุขก่อนและหลังการเข้าร่วมใช้บริการแอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มโอเพนแช็ต พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยหลังจากเข้าร่วมใช้บริการแอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มโอเพนแช็ต กลุ่มตัวอย่างมีความสุขมากขึ้น


1,2,3คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี
Corresponding Author: sinitra_s@rmutt.ac.th

Article Details

How to Cite
สานนท์ ร., ยมกนิษฐ์ ภ., & สุขสวัสดิ์ ส. (2024). การศึกษาพฤติกรรม ความพึงพอใจ และความสุขในการเข้าร่วมแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มโอเพนแช็ต Happy Money Happy Market by RMUTT. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(2), 69–82. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.27 (Original work published 30 ธันวาคม 2023)
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณี เสือใหญ่. (2558). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม). สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

เกศปรียา แก้วแสนเมือง (2558). พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-45 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2565). ประชาสัมพันธ์โครงการ “การเสริมสร้างสุขภาพดีกับการทำงานอย่างมีความสุขด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย”, [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565, จาก https://www.im.rmutt.ac.th/?p=19252

ชลิต ธีระชิตกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคต่อโฆษณาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทัศนีย์ วงค์สอน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผ้าฝ้าย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ .บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/306761

ธนพร สุขทรัพย์ กชกร สุขทรัพย์ และ ยศกร สุขทรัพย์. (2565). พฤติกรรมและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 489-502

ธีรพร สิริวันต์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการใช้ไลน์แอปพลิเคชัน (Line application) เพื่อเป็นช่อง ทางการสื่อสารการปฏิบัติงานในองค์กร. การจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล

นิจกานต์ หนูอุไร. (2564). พฤติกรรมการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชันไลน์ที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES SONGKHLA RAJABHAT UNIVERSITY, 3(1), 145-176.

บาลีภัทร ลิ้มธงเจริญ. (2561). ปัจจัยในการใช้แอปพลิเคชันที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานกรณีศึกษา บริษัทเอกชนด้านโลจิสติกส์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการอุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ลิน, แดน แดน. (2017). พฤติกรรมการใช้ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและการยอมรับแอปพลิเคชันวีแช็ตในประเทศไทย: กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต เฉลิมพล แจ่มจันทร์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และ จรัมพร โห้ลำยอง. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง (HAPPINOMETER: The Happiness Self Assessment). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมิธ พิทูรพงศ์. (2561). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน: กรณีศึกษาบริษัทสหผลิตภัณฑ์พาณิชย์ จำกัด. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิตอล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุนันทรา ขำนวนทอง พิทยุตม์ คงพ่วง พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง และ วัชรี เพ็ชรวงษ์. (2565). การมีส่วนร่วมในชุมชนและการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อรูปแบบความสุขของผู้สูงอายุ ในยุค 4.0 ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(12), 698-713.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). การให้คุณค่าและรับฟังเสียงพนักงาน ปัจจัยสร้างองค์กรแห่งความสุขในอนาคต. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565, จากhttps://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/ การให้คุณค่าและรับฟังเสียงพนักงาน - ปัจจัยสร้างองค์กรแห่งความสุขในอนาคต

Alexandrova, A. (2005). Subjective well-being and Kahneman’s objective happiness. Journal of Happiness Studies, 6(3), 301-324.

Easterlin, R. A. (2001). Income and happiness: Towards a unified theory. The Economic Journal, 111(473), 465-484.

Kotler, P. & Armstrong G. (2004). Principles of Marketing. (10th ed.) New Jersey: Pearson.

Leavitt, H. J. (1964). Applied organization change in industry: structural, technical and human approaches. In J. G. March (Ed.), Handbook of organisation. Illinois: Rand McNally and Company.

Li, S., & Jaharuddin, N. S. (2021). Influences of background factors on consumers’ purchase intention in China’s organic food market: Assessing moderating role of word-of-mouth (WOM). Cogent business & management, 8(1), 1876296.

Line Corporation. (2021). LINE OPEN CHAT. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565, จากhttps://linecorp.com/th/ pr/news/th /2021/3861.

Ngoma, M., & Ntale, P. D. (2019). Word of mouth communication: A mediator of relationship marketing and customer loyalty. Cogent Business & Management. 6(1). DOI: 10.1080/23311975.2019.1580123

Shelley, M. W. (1975). Responding to Social Change.Pennsylvania: Dowden, Hutchison: 252-268 Philip. (2000). Marketing Management, The Millennium Edition. New Jersey: Prentice Hall.

Tortoisesheller. (2019). Customer satisfaction กับผู้บริโภคยุค 4.0, [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://medium.com/@thanyalakek/customer-satisfaction

Veenhoven, R. (1991). Is happiness relative?, Social Indicators Research. 24(1): 1-34.