ประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

จารุวัฒน์ ติงหงะ
ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารจัดการและประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต 2) ปัจจัยการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คนโดยคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ ผู้แทนจากองค์กรในท้องถิ่น 4 คน ผู้แทนจากหน่วยงานการท่องเที่ยว 4 คน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว จำนวน 4 คน บุคคลในท้องถิ่น 4 คน ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการการท่องเที่ยว และนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ 4 คน เครื่องมือในการศึกษาคือบทสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง คำตอบของข้อมูลที่ต้องการเป็นการลดทอน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้โดยการอธิบายเชิงพรรณนา
     ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการบริหารจัดการและประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต พบว่า การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิผล (2) ปัจจัยการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต พบว่า ทุกปัจจัยมีส่วนสนับสนุนให้การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตทำได้โดยการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน ควรจัดอย่างหลากหลาย ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ ดึงดูดหรือจูงใจให้นักท่องเที่ยว เชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างท้องถิ่น จังหวัด กลุ่มจังหวัด การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต้องได้มาตรฐานและในราคาที่นักท่องเที่ยวมีกำลังจ่าย การพัฒนาสิ่งดึงดูดใจของจังหวัดภูเก็ต ทำได้โดยนำเสนอเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันโดดเด่น แหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลก รวมทั้งความหลากหลายทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมเพื่อเติมเต็มการใช้เวลาเดินทางโดยการสร้างสรรค์กิจกรรมระหว่างการเดินทางเมื่อระยะทางระหว่างแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ถ้าห่างไกลกันมาก ทางการพัฒนาการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ทำได้โดยการวางแผนและดำเนินการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอย่างมีทิศทางและมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญด้านการจัดให้มีสิ่งบริการอำนวยความสะดวกที่ครบถ้วนและทันสมัย


นักศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
²คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Corresponding author: jaruwattingnga@hotmail.com

Article Details

How to Cite
ติงหงะ จ., & สิริพรวุฒิ ณ. . (2024). ประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(2), 1–15. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.22 (Original work published 30 ธันวาคม 2023)
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ถวิลวงษ์. (2559). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา กรณีศึกษาโรงแรมธรรมะ (Temple stay) ของวัดภูเก็ตและชุมชนรอบวัด. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ และกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปขีดความ สามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทย ปีพ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 เมษายน

, จาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20190925130927.pdf

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2561). การศึกษาศักยภาพและสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนและ มัคคุเทศก์ ท้องถิ่น การท่องเที่ยวชุมชนเทศบาลตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 85-97.

ชาญโชติ ชมพูนุท. (2558). แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/595309

นนทิภัค เพียรโรจน์ สิริภัทร์ โชติช่วง และ ณัฐมน ราชรักษ์. (2558). การเชื่อมโยงเส้นทางและการส่งเสริมการตลาดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่ม 4 จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ.32(2), 89-115.

ปัญญา คล้ายเดช ณัทธีร์ ศรีดี ปชาบดี แย้มสุนทร สุภาพร บัวช่วย เนตรทราย แย้มเจริญ และไพทูรย์ มาเมือง. (2563). รูปแบบการบริหารการจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำที่มีต่อการพัฒนาวิถีชีวิตและวัฒนธรรม

ในประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 200-218.

พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ. (2563). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารมหาจุฬาคชสาร. 11(1), 1-12.

พิทยา บวรพัฒนา. (2552). ทฤษฎีองค์กรสาธารณะ. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภา.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธรและกัญญากาญจน์ ไซเออร์ส. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ตาม ทัศนะของนักท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(22): 61-66.

รัตติยา พรมกัลป์. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบจำลองการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัดนครสวรรค์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ศิริลาภอนันต์. (2563). ประสิทธิผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์วิถีไทย ในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 7(2), 1-13.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำมะโนประชาการและเคหะ ปี พ.ศ. 2561. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17

เมษายน 2566, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/ sector/th/01.aspx

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (5)

ประเด็น การท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561 -2580). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566, จาก http://nscr.nesdb.go.th/ wp-content/uploads/2019/04/05-การท่องเที่ยว.pdf

อารยา จันทร์สกุล. (2561). Overtourism ผลกระทบและแนวทางการจัดการเพื่อความยั่งยืน. [ออนไลน์].

ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566 จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/

ReasearchPaper/Overtourism.pdf

เอกชัย ชำนินา. (2562). การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน, 6(5), 2651-2670.

เอกชัย ชำนินา. (2563). การจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน, 7(8), 174-189.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management. 21 (1): 97-116.

Donaldson, R. (2007). Tourism in Small Town South Africa. In Rogerson, C.M. & Visser, G.

(eds). Urban Tourism in the Developing World: New Jersey: The South African Experience.

Pike, Steven D. (2008). Destination Marketing: an integrated marketing communication approach. Butterworth-Heinmann, Burlington, MA.