การปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล : กรณีศึกษา กรมสรรพากรกรมการขนส่งทางบก และกรมทางหลวงชนบท

Main Article Content

สุภารัตน์ แก้ววิสูตร
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการไทยจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลในด้านการส่งมอบบริการสาธารณะ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งต่อการส่งมอบบริการสาธารณะ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลของการปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ส่งผลการส่งมอบบริการสาธารณะ 4. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการให้บริการของภาครัฐที่ส่งผลต่อการส่งมอบบริหารสาธารณะ
     โดยผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกจาก 3 หน่วยงานได้แก่ กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก และกรมทางหลวงชนบท
     ผลการศึกษาพบว่า
     1) การปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ส่งผลการส่งมอบบริการสาธารณะ พบว่า จากเดิมการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐจะมีวิธีการให้ผู้รับบริการกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอรับบริการและจะต้องเดินทางไปยื่นกับหน่วยงานภาครัฐด้วยตนเอง รูปแบบใหม่ผู้รับบริการสามารถดำเนินการต่างๆผ่านช่องทางไลน์ ทำให้การขอรับบริการมีความสะดวก ความรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น
     2) การปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลมีปัญหาและอุปสรรค คือ (1) ปัญหาด้านความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านงบประมาณ (2) ปัญหาการสร้างความเข้าใจและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนผู้รับบริการ (3) ปัญหาด้านการบูรณาการเชื่องโยงข้อมูลร่วมกันกับหน่วยงานภาคส่วนอื่นๆ (4) ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา และ (5) ปัญหาขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและบุคลากรด้านการบริการ
     3) ผลการเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ที่ส่งผลการส่งมอบบริการสาธารณะระหว่าสามหน่วยงาน พบว่า สอดคล้องกัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยการปรับเปลี่ยน เป็นไปในลักษณะของการปรับปรุงการให้บริการและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการส่งมอบบริการสาธารณะแก่ภาคประชาชน ภาคเอกชน และอื่นๆ และมีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
     4) แนวทางพัฒนาการคือ การพัฒนาบุคลากร โดยเน้นการให้ความรู้แก่บุคลากร เนื่องจากปัญหาที่พบสอดคล้องกันกรณีศึกษาทั้งสามกรณี คือ บุคลากรส่วนใหญ่ขาดทักษะการปฏิบัติงานในลักษณะงานบริการ แต่ยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ขาดการบริหารจัดการความรู้ยังไม่สามารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ใช้ร่วมกันขององค์การได้


* นักศึกษาปริญญาเอก โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,10240
** ศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,10240
Corresponding author: e-mail spr_kws@hotmail.com

Article Details

How to Cite
แก้ววิสูตร ส., & นรนิติผดุงการ จ. (2023). การปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล : กรณีศึกษา กรมสรรพากรกรมการขนส่งทางบก และกรมทางหลวงชนบท. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 257–266. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.20 (Original work published 30 มิถุนายน 2023)
บท
บทความวิจัย

References

ิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2559). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ = E-Government. คณะรัฐประศาสนศาสตร์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีระ กุลสวัสดิ์. (2555). แผนพัฒนาดิจิทัลของกรมการขนส่งทางบก. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย,

(1),159-195.

ส านักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2558). รายงานผลการส ารวจเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ปี พ.ศ.2558.

[ออนไลน์].ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก https://www.dga.or.th/wpcontent/uploads/2015/10/ file_508edcd748da3eb726067c54881614b8.pdf

ส านักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2559). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559-

. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก

https://tdga.dga.or.th/index.php/th/send/9-document/299-3-2559-2561.html

ส านักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2561). เปลี่ยนผ่านภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565,

จาก https://www.dga. or.th/wp-content/uploads/2018/11/

file_74d73af09053ed5071f9aa5c539ba74c.pdf

ส านักวิชาการ ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล.

[ออนไลน์].ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก http://web.krisdika.go.th/data/outsitedata/

ManagementSystem/pdf/digital01.pdf

Anne Mette Kjær, (1997). Governance. Buckingham: Open University Press.

Chung, Choong-Sik, and Kim, Sung-Bou. (2019). A Comparative Study of Digital Government

Policies, Focusing on E-Government Acts in Korea and the United States. Electronics,

(11), 1362.

Dunleavy, P., Evans, M., and McGregor, C. (2015). Connected government: Towards digital

era governance. University of Canberra. Retrieved December 10, 2022 from

https://www.governanceinstitute.edu.au/magma/media/upload/ckeditor/files/

IGPA%2 0Telstra%20Report%20on%20Digital%20Governance%20for

%20module%204.pdf

Khan,F., Khan,S and Zhang,B. (2010). E-Government Challenges in Developing Countries: A

Case Study of Pakistan. December 10, 2022, Retrieved from

file:///Users/suparatkhaewwisut/Downloads/E-GovernmentChallengesin

DevelopingCountriesACaseStudyofPakistan.pdf

Kosorukov, A. A. (2 0 1 7 ) . Digital government model: Theory and practice of modern public

administration. Journal of Legal, Ethical and Regulatory Issues. 20(3), 1-10.

Mila Gasco-Hernandez. (2020) . Beyond Transparency, Participation, and Collaboration? A

Reflection on the Dimensions of Open Governmental. December 10, 2022, Retrieved

from https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/15309576.2020.1734726