แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพการดำเนินการ สภาพปัญหา ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ โดยการเก็บข้อมูลจะแบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาสมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา อย่างน้อย 5 กลุ่มขึ้นไป จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ที่เคยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรในจังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก 400 คน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ พบว่า สภาพการดำเนินการ สภาพปัญหา ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะมุ่งเน้นการขายส่ง และพ่อค้าคนกลาง ชุมชนต่างประสบปัญหาในด้านเชื้อราจากการจัดเก็บและการขาดแคลนน้ำ ทำให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ไม่คงที่ ทางกลุ่มฯ มีความต้องการที่จะถ่ายทอดและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน จึงได้พยายามสร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้คนที่สนใจเข้ามาศึกษา และต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับสินค้าที่จัดจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า
ผลการวิจัยเชิงปริมาณจากผู้ที่เคยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ พบว่า ความแตกต่างของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน และปัจจัยด้านพฤติกรรมการเลือกซื้อในด้านเหตุผลการเลือกซื้อ สถานที่จัดจำหน่ายและเหตุผลในการซื้อจากแหล่งจัดจำหน่ายนั้น ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกัน ในส่วนของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด สามารถนำมาอธิบายถึงการตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 45.20 ส่วนอีกร้อยละ 54.80 เป็นอิทธิพลจากตัวแปรอื่น ๆ และทุกปัจจัยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Beta = 0.31) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านราคา (Beta = 0.26) ปัจจัยด้านสถานที่จัดจำหน่าย (Beta =0.18) และ ปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด (Beta = 0.10) ตามลำดับ ดังนั้น แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ควรมุ่งเน้นไปที่แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในด้านของบรรจุภัณฑ์ที่ดี ที่สามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อรองรับความต้องการในช่วงหลากหลายกลุ่ม และมีการแสดงข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
*-**** อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณทิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 7100
คณะผู้วิจัย นัสทยา ชุ่มบุญชู มรกต โกมลดิษฐ์ และ มัทนียา พิทักษ์ชูโชค
Corresponding author: runchida2602@gmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กนกวรรณ เพ็ชรพลอย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย: กรณีศึกษา สยามสปา สาขาจตุจักร. ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชงโค ดรลาดพันธุ์, และ วิษณุ สุมิตสวรรค์. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคผ่านสื่อเครือข่ายออนไลน์ ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 118-131.
นคเรศ ชัยแก้ว อุดมศักดิ์ สาริบุตร สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ และ ผดุงชัย ภู่พัฒน์. (2556). การศึกษาและพัฒนาบรรจุภัรฑ์ลำไยอบแห้ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(2), 86-95.
นัสทยา ชุ่มบุญชู. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพร: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 3(2), 76-86.
ประทินร์ ขันทอง, และ ธนากร ธนาธารชูโชติ. (2562). รูปแบบการตลาดธุรกิจสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 45-56.
รัญชิดา ดาวเรือง, และ วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อชา
ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21, 206-217.
วิสาหกิจชุมชน. (2565). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2562 จาก
https://smce.doae.go.th/ProductCategory/รายชื่อวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีย์รัตน์ องอาจ ปทะวานิช และ ปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซแท๊กซ์ จำกัด.
สมภพ ประธานธุรารักษ์ พร้อมจิต ศรลัมพ์ นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ และ ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์. (2548). ศึกษาทบทวนการพัฒนามาตรการด้านวิจัยและการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครอบภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มงานครัวไทยสู่โลก. (2564). แนวโน้มอาหารและเครื่องดื่มในตลาดโลกปี 2021. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.
สุดาดวง เรืองรุจิระ และ ปราณี พรรณวิเชียร. (2529). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
Briston, J.H. and Neill, T.J. (1972). Packaging Management. Epping, Essex: Gover press.
Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley and Sons.
Cronbach, L. J. (1970). Essentialsofpsychologicaltesting. (3rd ed). New York: Harper & Row.
Kotler. (1994). Reconceptualizing marketing: An interview with Philip Kotler. European Management Journal, 12(4), 353-361.
WHO, W. H. (2018). Traditional and complementary medicine in primary health care. Switzerland: WHO Headquarters in Geneva. Retrieved from Traditional, complementary, and integrative medicine.