การจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา: จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสงขลา

Main Article Content

กอบกาญจน์ ประภาสะวัต
อุทัย เลาหวิเชียร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดสงขลา 2) ศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมและระดับของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดสงขลา (3) ศึกษาปัญหาของการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดสงขลา (4) เสนอแนะแนวการการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดสงขลา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานระดับภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งสิ้น 30 คน จังหวัดละ 15 คน ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเอกสารและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย และการสังเคราะห์ข้ามกรณีศึกษา
     ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานของทั้งสองกรณีศึกษามีการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติ 3 ขั้นตอน คือ ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ โดยอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการและคณะทำงานแต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดและเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ. 2550 2) ลักษณะการมีส่วนร่วม ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยมีการเฝ้าระวังเหตุในชุมชน เข้าร่วมประชุมมีการออกความคิดเห็น และมีการจัดตั้งอาสาสมัครประจำ ชุมชน และระดับการมีส่วนร่วมของทั้งสองกรณีอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมเพียงแต่ในนาม 3) สำหรับปัญหาของการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานของทั้งสองกรณีพบว่ามีปัญหาเรื่อง งบประมาณ ไม่เพียงพอในการจัดการภัยพิบัติตามที่ได้มีการวางแผนร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ 4) ข้อเสนอแนะ หน่วยงานภาครัฐควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการจัดการภัยพิบัติ และควรมีการแก้ไขกฎหมาย โดยส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในทุกระดับ เพื่อลดความเสี่ยงของประชาชนและส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนมีความรู้และขีดความสามารถในการจัดการรูปแบบการบูรณาการและให้ความสำคัญกับการนำขีดความสามารถของประชาชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
     จากการสังเคราะห์ข้ามกรณีศึกษาการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน ทั้ง 2 แห่ง พบว่า แนวทางการจัดการภัยพิบัติมีความคล้ายคลึงกัน สิ่งที่มีความแตกต่างกัน คือจังหวัดสงขลามีการวางแผนในระดับชุมชนแต่ละชุมชนโดยมีทุกภาคส่วนเข้าร่วมวางแผนและให้ความรู้ด้านภัยพิบัติแก่ชุมชน มีการจัดทำแผนที่น้ำท่วม จัดทำแผนที่กลุ่มคนเปราะบาง และการจัดทำบ้านพี่เลี้ยงหรือหัวหน้าซอยประจำซอยต่างๆ ซึ่งในการดำเนินการลักษณะนี้ของจังหวัดขอนแก่นไม่ได้ดำเนินการ และการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันโดยจังหวัดขอนแก่น การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับที่ 4 ระดับการปรึกษาหารือ และ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับที่ 5 ซึ่งเป็นเพียงการปลอบใจ


* นักศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 10240
** รองศาสตราจารย์ ดร. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 10240
Corresponding author: pkobkarn@gmail.com

Article Details

How to Cite
ประภาสะวัต ก., & เลาหวิเชียร อ. (2023). การจัดการภัยพิบัติอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา: จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 225–240. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.18 (Original work published 30 มิถุนายน 2023)
บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). สรุปบทเรียนสถานการณ์อุทกภัยลุ่มน้ำชี-มูล ปี 2562. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก http://www.water.rid.go.th/

hyd/Report/Mun_2562.pdf

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2553). การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เวิร์ค พริ้นติ้ง จำกัด.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัย พ.ศ.2560-2564. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก

http://www.policy.disaster.go.th/cmsdetail.Policy-.45/39671/menu_8585/5067.4/แผนยุทธศาสตร์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+พ.ศ.2560-2564

คณะทำงานสังเคราะห์บทเรียนการรับมืออภิมหาอุทกภัย. (2554). สังเคราะห์บทเรียนการรับมือมหาอุทกภัย 2554. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก https://k4ds.psu.ac.th/k4dm/file/km/hs1975.pdf

โครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. (2557). เมืองรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก

https://www.tei.or.th/thaicityclimate/public/work-7.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ Gross Regional and Provincial Product. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=96

สำนักงานชลประทานที่ 6. (ม.ป.ป.). ระบบน้ำท่วม ลำน้ำพอง-แม่น้ำชี. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.flood.gistda.or.th

Abarquez, I. and Murshed, Z. (2004). Community-based disaster risk management: field practitioners’ handbook.. Bangkok: Asian Disaster Preparedness Center (ADPC).

Arnstein, S. R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35(4), pp. 216-224.

Blaikie, P., Cannon, T., Davis, I., and Wisner, B. (2005). At risk: Natural hazards, people’s vulnerability and disasters. New York, NY: Routledge.

Cohen, J. M., and Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation: Concept and measures for project design, implementation and evaluation. New York: Cornell University Press.

Coppola, P. D. (2007). Introduction to International Disaster Management. China: Elsevier.

Huxhan, C., and Vangen, S. (2005). Managing to collaborate: The theory and Practice of collaborative advantage. Oxen, England: Routledge.

Izumi, T. and Shaw, R. (2012). Chapter 3 Role of NGOs in Community Based Disaster Risk Reduction. In J. William L. Waugh (Ed.), Community, Environment and Disaster Risk Management, 10, 35-54.

JANI. (2011). Framework on Community Based Disaster Risk Management in Vietnam. Centre for International Studies and Cooperation.

Kapucu, N. (2006). Public-non profit partnerships for collective action in dynamic contexts of emergencies. Public Administration, 84(1), 205-220.

Maskrey, A. (2011). Revisiting Community-Based Disaster Risk Management. Environmental Hazards, 10(1), 42-52.

Mercy Corps and Practical Action. (2010). Establishing Community Based Early Warning System. PRACTITIONER’S HANDBOOK, Mercy Corps Nepal.

O’Brien, G., and O’Keefe, F. (2014). Managing adaptation to climate risk beyond fragmented responses. Oxon: Routledge.

Pineda, M. V. (2015). Redefining Community Based Disaster Risk Management (CBDRM) through Enhanced Early Warning Processes. International Journal of Information and Education Technology, 5(7), 543-548.

Prasad.R. and Cockfield.G. (2014). Perceived community-based flood adaptation strategies under climate change in Nepal. International Journal of Global Warming 6(1), 113 – 124.

Sharma.R. (2021). Community Based Flood Risk Management: Local Knowledge and Actor’s Involvement Approach from Lower Karnali River Basin of Nepal. Journal of Geoscience and Environment Protection, 9, 35-65.

Sjostedt.F. and Sturegard.V. (2015). Implementation of Community Based Disaster Risk Management in the Mekong Delta , Vietnam. Lund University.

Trogrlic, R. S., Wright, G., Adeloye, A., Duncan, M. J. and Mwale, F. (2017). Community based-flood risk management: experiences and challenges in Malawi. International Water Resources Association,1-13.

United Nations Department of Humanitarian Affairs (UNDHA). 2007. DM Glossary, 1992: 28; EEA Environmental Glossary. Geneva, Switzerland: UN/ISDR.