กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล

Main Article Content

นัฐปกรณ์ รวีธนาธร
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 3) วิเคราะห์จัดทำกลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบทความเป็นชุมชนเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี สำหรับกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ชุมชนและชุมชนใกล้เคียงอื่น ๆ โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม จำนวน 162 คน และดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จำนวน 84 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงแบบขั้นตอน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT)
     ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย การมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสร้างเครือข่ายการทำงาน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็ง ส่งผลต่อการขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง นอกจากนี้มีข้อค้นพบในประเด็นที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วม 2) การสร้างความมั่นคงทางอาหาร 3) การบูรณาการทีมงาน/เครือข่าย 4) การใช้ตัวแบบ“ผู้นำต้องทำก่อน” 5) การสร้างแรงบันดาลใจ 6) การปรับตัวทางสังคม  7) การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ 8) การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ 9) การส่งเสริมผู้นำทางความคิด และ 10) การแสวงหาทุนของชุมชน ซึ่งสามารถนำมาสร้างกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ ประกอบด้วย 1) บูรณาการพื้นที่ทำงาน 2) วางรากฐานระบบหนุนเสริม 3) เพิ่มขีดความสามารถผู้นำ และ 4) สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนชุมชน โดยมีข้อเสนอแนะ คือ 1) ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการปฏิบัติงาน 2) ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทภูมิสังคมที่แตกต่างกัน และ 3) ควรนำกลยุทธ์หรือรูปแบบเชิงนวัตกรรมไปใช้ในการขยายผลขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่


* นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 10210
** รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล73170
Corresponding author: nattapakon-r@hotmail.com

Article Details

How to Cite
รวีธนาธร น., & ศิริสรรหิรัญ ส. (2023). กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 198–213. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.16 (Original work published 30 มิถุนายน 2023)
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา ตันเปาว์. (2564). การจัดการสมัยใหม่ POLC ด้วยสังคหวัตถุ 4. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565. จาก http://www.thaiall.com/web2/key.php?topic=kritsada_fband id=28/

กรมการพัฒนาชุมชน. (2564). เอกสารประกอบการประชุมโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยบริการ สถาบันการพัฒนาชุมชน.

คณน ไตรจันทร์ ธีรศักดิ์ จินดาบถ และ อนุวัต สงสม. (2559). องค์ประกอบความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. KASETSART JOURNAL OF SOCIAL SCIENCES, 38(2), 577-587.

ชยาภาภรณ์ ทองบ่อ. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลการบริการฃสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปรียาภา เมืองนก. (2557). กระบวนการบริหารจัดการชุมชนเมืองที่นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษา ชุมชนหมู่บ้านจัดสรรเขตปริมณฑล. วิทยานิพนธ์. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลง: กรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย. Asian Journal of Arts and Culture, 17(1), 39-62.

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนกรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒิชัย สายบุญจวง. (2561). ชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน กรณีศึกษา บ้านปลายคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 119–129.

สหประชาชาติ (ประเทศไทย). (2558). เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565. จาก https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง : เปลี่ยนความท้าทายมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 845-860.

Allen, L. A. (1958). Management and organization. New York: McGraw-Hill.

Bass, B.M. and Avolio, B.J. (1994). Improving Organization Effectiveness Through Transformational Leadership. California: Sage.

Eggers, W. D. (2003). Governing By Network: The New Shape of the Public Sector. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

FAO. (2006). Food Security (Policy Brief). Rome: FAO’s Agriculture and Development Economics Division.

Kaiser, M. L., Usher, K. and Spees, C. (2015). Community Food Security Strategies:

An Exploratory Study of Their Potential for Food Insecure Households with Children. Journal of Applied Research on Children: Informing Policy for Children at Risk, 6(2), 1-38.

Koul, L. (1984). Methodology Of Educational Research. New Delhi: Vani Education Book.

MacMillan, J.H. and Schumacher, S. (2001). Research in Education. A Conceptual Introduction. (5th ed.). Boston: Longman.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introduction Analysis. New York: Harper International Edition.