กลยุทธ์ทางการตลาดในความปกติใหม่สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธรรศณพร เภสัชชา
มรกต จันทร์กระพ้อ
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีการขยายเป็นวงกว้างในช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและวิถีความเป็นอยู่ประชาชนทั่วโลกทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคนนั้นถือว่าได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องจากการได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคขั้นสูงสุด เช่น การปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายคนระหว่างจังหวัด ภูมิภาค ตลอดจนระหว่างประเทศ การใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การใช้มาตรการปิดสถานที่ที่อาจมีคนแออัด จนทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรุนแรงในระยะสั้นกลายเป็น “การดำเนินชีวิตในความปกติใหม่ (New Normal)” สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์นั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าทางจังหวัดมีการยกระดับการท่องเที่ยวในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและการจัดกีฬาในระดับโลก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ถูกยกเลิกและต้องชะลอการจัดออกไป จึงทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดซบเซาลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไป บทความนี้จึงมุ่งอธิบายถึงกระบวนการในการวางแผนทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความพึงพอใจและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักท่องเที่ยว อันเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์ให้กลับมาเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน


*หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 12110
**หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 12110
***สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 12110
Corresponding author: krisada_c@rmutt.ac.th 

Article Details

How to Cite
เภสัชชา ธ. ., จันทร์กระพ้อ ม., & เชียรวัฒนสุข ก. (2023). กลยุทธ์ทางการตลาดในความปกติใหม่สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 40–54. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.4 (Original work published 30 มิถุนายน 2023)
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ15 สิงหาคม 2565 จาก https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2288

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2564). COVID ต่อภาคการท่องเที่ยวไทยผลกระทบและแนวทางแก้ปัญหา. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://www.mots.go.th/download/BannerLink/PBVol01Covid_DigitalEd.pdf

ทะนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19 การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

ธงชัย คล้ายแสง, บุณทัน ดอกไธสง และ นัยนา เกิดวิชัย. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(4), 823-840.

ธนากร ทองธรรมสิริ และโอชัญญา บัวธรรม. (2564). แนวทางสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(1), 21-34.

ธีทัต ตรีศิริโชติ กฤษดา เชียรวัฒนสุข นพดล เดชประเสริฐ และอํานาจ สาลีนุกุล. (2565). การคิดเชิงออกแบบของการบริการ. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(2), 108-120.

ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล. (2563). กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ที่น่าสนใจ บางอย่างคุณอาจคาดไม่ถึง. วารสาร การพิมพ์ไทย, 127.

นิติราษฎร์ บุญโย. (2565). soft power ของไทย ขับเคลื่อนต้องทันใจวัยรุ่น?. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/business/business/1034457

บุญฑริกา วงษ์วานิช และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดําเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล: การศึกษาตัวแปรคั่นกลางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 422-445.

ใบเฟิร์น วงษ์บัวงาม ชวลีย์ ณ กลาง และเสรี วงษ์มณฑา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครของนักท่องเที่ยวสูงอายุไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 55-70.

ปฐมพงษ์ บำเริบ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางด้านการตลาดบริการ ที่มีผลต่อการเลือกเส้นทางการท่องเที่ยวย่ายริมน้ำฝั่งธนบุรี ของกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(23), 59-78.

ปราโมทย์ ยอดแก้ว. (2564). การตลาดดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ในสังคมไทย. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 3(1), 11-22.

ปริญญา นาคปฐม และระชานนท์ ทวีผล. (2561). การพัฒนาคุณภาพงานบริการทางการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 255-269.

ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด สำหรับการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(4), 51-61.

วันทนีย์ ศรีนวล และอัศวิน แสงพิกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 175-194.

ศิวธิดา ภูมิวรมุนี และอลิศรา ธรรมบุตร. (2564). ปัจจัยส่วนประสมด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านช้าง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 226-240.

สรรเพชร เพียรจัด และจารินี ม้าแก้ว. (2564). การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนดินแดนภูเขาไฟบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(1), 41-50.

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2565). ศบค. มีมติผ่อนคลาย 1 กรกฎาคมนี้ทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220617144223761

สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2565). ททท.เปิด "ปีท่องเที่ยวไทย 2565" หวังดันรายได้ท่องเที่ยวรวม 1.28 ลบ. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://www.ryt9.com/s/iq03/3296912

สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). ข้อมูลพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://www.buriram.go.th/downloads/buriram-gen.pdf

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://www.buriram.go.th/downloads/plan/plan-p-66-70.pdf

สุปราณี แตงวงษ์, ศากุล ช่างไม้ และศิรเมศร์ โภโค. (2565). พฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่หลังการระบาดของโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล, 71(2), 57-63.

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New Normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49

โสรฌา เครือเมฆ อะเคื้อ กุลประสูติดิลก และรุจิราภา งามสระคู. (2564). การปรับตัวของประชาชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2), 87-103.

อรรถกร จัตุกูล. (2560). การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สยามวิชาการ, 18(2), 46-64.

อารีวรรณ บัวเผื่อน และสุดาพร กุณฑลบุตร. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการมาท่องเที่ยวประเทศไทย กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 199-224.

Ahuja, N. (2016). The eight “P” of marketing mix. International Journal of Research in Humanities and Soc. Sciences, 4(8), 17-21.

Alam, S. M. (2021). Service marketing mix: The twelve Ps. Journal of Purchasing, Logistics and Supply Chain, 2(2), 33-43.

Bhasin, H. (2021). Service Marketing Mix – 7 P’s of marketing. Retrieved August 15, 2022 from https://www.marketing91.com/service-marketing-mix/

Lakra, V., Kohli, M., and Budhlani, G. (2016). Marketing strategies developing factors. International Research Journal of Management Sociology and Humanity, 7(3), 250-258.

Nye, J. (2017). Soft power: the origins and political progress of a concept. Palgrave communications, 3(1), 1-3.