การวิเคราะห์นวัตกรรมทางการตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ภัทรพล ชุ่มมี

บทคัดย่อ

          นวัตกรรมทางการตลาดได้เปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิงและส่งผลต่อการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนที่สร้างมูลค่าเพิ่มรวมถึงความน่าดึงดูดใจของงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านนวัตกรรมการตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชน และ 2) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเก็บจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนจำนวน 324 รายในจังหวัดปทุมธานีจากผู้หน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้รับมอบหน้าที่แบบเจาะจงเก็บตามใบรายชื่อตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเก็บจากตัวแทนผู้ประกอบการ 15 รายที่เป็นตัวแทนหรือมีหน้าที่เกี่ยวข้อง
          ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่าทุกองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบไม่ต่ำกว่า 0.50 และมีค่า Eigenvalue ไม่น้อยกว่า 0.50 รวมตลอดถึงมีค่าความเบ้และความเอียงผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด เมื่อทำการภาวะร่วมเส้นตรงพหุพบว่าค่า คือ Tolerance และ Variance Inflation Factor (VIF) ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กำหนดไม่มีค่ามากกว่าที่กำหนดไว้แต่อย่างใด จากการการวิเคราะห์องค์ประกอบด้านนวัตกรรมทางการตลาดประกอบด้วยตัวแปรด้านคุณค่าเฉพาะตัว การมุ่งที่ตัวลูกค้า การมุ่งตลาดเฉพาะกลุ่ม ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ พฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดี และความสามารถด้านการแข่งขัน
          ผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่า 1) จุดแข็ง วิสาหกิจมีความเข้มแข็ง สามัคคีและช่วยเหลือกันในการทำกิจกรรม สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชน มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง คือ ที่ทำการงานเป็นกลุ่ม 2) จุดอ่อนของวิสาหกิจชุมชน การวิเคราะห์จุดอ่อนของวิสาหกิจชุมชน ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้นำวิสาหกิจชุมชนพบว่า อายุของสินค้าบางผลิตภัณฑ์มีระยะเวลาสั้น ขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมการผลิต ช่องทางการตลาดยังไม่ทั่วถึง 3) โอกาสของวิสาหกิจ เมื่อพิจารณาโอกาสของวิสาหกิจ ที่สะท้อนผ่านผู้นำวิสาหกิจพบว่า มีหน่วยงานภาครัฐ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทั้งวิชาการและอุปกรณ์การผลิต รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ และ 4) อุปสรรคของวิสาหกิจชุมชน สำหรับอุปสรรคที่วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ประสบคือหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนไม่ตรงกับความต้องการ ทั้งในเรื่องอุปกรณ์และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ วิสาหกิจชุมชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
          ข้อเสนอแนะสำหรับวิสาหกิจชุมชนต้องพัฒนานวัตกรรมการตลาดใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน เช่น นวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย ช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ


* วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์ 12120
Corresponding author: atta9899@hotmail.com

Article Details

How to Cite
ชุ่มมี ภ. . . (2023). การวิเคราะห์นวัตกรรมทางการตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 396–412. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.29 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). "ไทย" ไต่อันดับ 43 ดัชนีนวัตกรรมโลก ขยับขึ้น 1 อันดับจากปี 63. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/961236.

จรินทร์ จารุเสน และธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2565). การบริหารช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าบนอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคอตตอนดีไซน์ จ. ปทุมธานี. วารสารศิลปการจัดการ, 6(1), 160-174.

ชุติมา นิ่มนวล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22 (1), 27-34.

แบรนด์บัฟเฟ่ต์ (Brandbuffet). (2020). 12 นวัตกรรมเปลี่ยน “อนาคต” วงการตลาดโลก. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก: https://www.brandbuffet.in.th/2015/09/12-innovations-reshape-world-marketing/.

โพส ทูเดย์ (Post Today). (2563). กลยุทธ์ 4C เพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/633562

เมทิกา พ่วงแสง และ และหญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์ .12 (2),55-66

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. (2564).สารสนเทศวิสาหกิจชมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร.[ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก https://smce.doae.go.th/

วัลลภา วิชะยะวงศ์ มาริษา สุจิตวนิช ผ่องใส สินธุสกุล และพันธิการ์ วัฒนกุล.(2564). การขยายโอกาสตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง สำหรับลูกค้าต่างประเทศ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6 (7), 227-300.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สมบูรณ์ ภุมรนทร์. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและคุณค่าตราสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ข้าวสารบรรจุถุง ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยวิชาการ 2 (2), 121-134.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์จำกัด.

หทัยทิพย์ แดงปทิว. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เสริมเพื่อผิวขาวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.[ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564, จาก: http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2800/1/ hathaithip_daen.pdf.

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธ์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมไทยแลนด์ 4.0 สำหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย. 15 (1) , 94-108.

อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2560). ความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12 (S), 13-26.

Boston University. (2019). Diffusion of Innovation Theory. Retrieved June 27, 2021 ,from: https://sphweb.bumc.bu.edu/otlt/mph-modules/sb/Behavioral changetheorie/ behavioralchangetheories4.html

Chummee, P. and Khammadee, P. (2021). The Development of Marketing Strategy of Community Enterprise in Sa Kaeo Province. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education (Q3), 12 (8), 2777-2783.

Filatotchev, I., Liu, X., Buck, T., & Wright, M. (2009). The export orientation and export performance of high-technology SMEs in emerging markets. Journal of International Business Studies, 40(6), 1005-1021.

Global Stat. (2021). The Most Innovative Countries, Ranked by Income Group. [Retrieved June 26 , 2021 from, https://www.visualcapitalist.com/national-innovation-the-most-innovative-countries-by-income/

Hortinha, P., & Lages, C. (2011).The trade-off between customer and technology orientations: impact on innovation capabilities and export performance. Journal of International Marketing, 19 (3), 1-20.

Hoyle, R. H., & Kenny, D. A. (1999). Statistical power and tests of mediation. In R. H. Hoyle (Ed.), Statistical strategies for small sample research. Newbury Park: Sage.

Kaya, A. N. (2008). Integration of market and entrepreneurial orientation; and their impact on export performance: a contingency approach. Ph.D. Dissertation, Old Dominion University.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling. (2nd ed.). Guilford Press.

Śledzik, Karol. (2013). Schumpeter’s View on Innovation and Entrepreneurship (April 29, 2013). Management Trends in Theory and Practice, (ed.) Stefan Hittmar, Faculty of Management Science and Informatics, University of Zilina & Institute of Management by University of Zilina, 2013, ISBN 978-80-554-0736-4.