แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

จุฑามาส ศรีชมภู

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์และความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี รูปแบบการวิจัยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประธานวิสาหกิจชุมชนหรือตัวแทนวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร หรือผู้ที่เคยมีประสบการณ์บริหารกลุ่มฯ รวมจำนวน 163 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบเกี่ยวกับความคิดเห็นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์และความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ประธานวิสาหกิจชุมชนหรือตัวแทนวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรีจากวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรางวัลดีเด่น และให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 5 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
           ผลการวิจัย พบว่า
           1) ระดับความคิดเห็นของปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นของความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่ในระดับมาก
           2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ทำงานในวิสาหกิจชุมชน และประเภทของวิชาสหกิจชุมชนที่เป็นสมาชิก แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
           3) ปัจจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติและ ด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญ เป็นไปตามสมมติฐาน ทำนายการผันแปรของความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร้อยละ 80.50 โดยเขียนสมการทำนาย ได้ดังนี้
Y = 0.364** ** + 0.191X2** + 0.398 X5** + 0.308 X6**
           4) แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนใช้การศึกษาจากองค์การที่ประสบความสำเร็จ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับวิสาหกิจชุมชนของตนเอง หรือการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ก็จะทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้


*จุฑามาส ศรีชมภู สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Corresponding author: jsrichompu@gmail.com

Article Details

How to Cite
ศรีชมภู จ. . . (2023). แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 380–395. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.28 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. จาก https://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php

ชัญภร เสริมศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ทำไมต้อง “จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. จาก https://www.thansettakij.com/business/443911

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.

ธีรฉัตร เทียมทอง และเพ็ญณี แนรอท. (2561, ธันวาคม). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้าโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงมอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal). 7 (2), 245-265.

นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2559, ธันวาคม). บทบาทของ HRM : การจัดการช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร. วารสารวิชาการและการวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1 (2), 73-88.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2562, มิถุนายน). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในประชาคมอาเซียน. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 10 (1),95-120.

พนิดา บุญธรรม. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์และความสมดุลกับงานที่มีความผูกพันในองค์กร: กรณีศึกษา บริษัทบริหารสอนทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภาคภูมิ ภัควิภาส สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์ และรัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs : แผนธุรกิจ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2559). แบบจำลองสมการโครงสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจเอกชนในจังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร. 13 (2), 79-99.

วิทยา ด่านธำรงกุล. (2549). หัวใจการบริการสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ. 2561 - 2565) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี.

อรพรรณ มาตช่วง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทุนมนุษย์กับความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Ayuko, O. B. (2021). SMEs, innovation and human resource management. Journal of Management & Organization. 27, 1–5.

Bhattacharjee, S. B., Bhattacharjee, B. (2015, April). Competitive Advantage Through HRM

Practices in MSMEs. International Journal of Management and Humanities (IJMH). 1 (7), 15-22.

Cong, L. C., Thu, D. A. (2020). The competitiveness of small and medium enterprises in the tourism sector: the role of leadership competencies. Journal of Economics and Development. 23 (3), 299-316.

Drucker, P. F. (1999). Management challenges for the 21st century. New York: Harper Business.

Khan, M. F., Ahmad, A. (2021). Examining the role of HR practices to get competitive

advantage in the manufacturing sector of Pakistan. Journal of Public Value and Administrative Insight. 4 (2). 144-152.

Mondy, R. W. (2008). Human Resource Management. (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Mutumba, R., Basika, E., Menya, J., Kabenge, I., Kiggundu, N. and Oshaba, B. (2021). A review of the human resource management dilemma for SMEs: case of central Uganda. Arts & Humanities Open Access Journal. 5(1), 1-7.

Noe, R. A., Hollenbeck, J. R., Gerhart, B. and Wright, P. M. (2020). Fundamentals of Human resource management. New York: McGraw-Hill Education.

Poljasevic, B. Z., Petkovic, S. (2013). Human Resource Management in Small and Medium-Sized Enterprises: Conceptual Framework. Economics and Organization. 10 (3), 301-315.

Porter, M. E. (1998). “Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and competitor.” Competitive Analysis: Porter’s five forces. New York: Free Press.

R, K. M., H, S. (2021). Human Resource Management Practices in SMEs during Pandemic in India. Journal of Fundamental & Comparative Research. 8 (1), 77-83.

Wattanapunkitt, P. (2021, August). Influence of Human Capital Development on Hotel Businesses’ Competitive Advantage and Operational Success in the Upper Northern Region’s Secondary Citie. Dusit Thani College Journal. 15 (2). 1-15.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.