ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติในร้านอาหารของประชากรวัยทำงาน ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภควดี เจริญรัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติในร้านอาหารของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติในร้านอาหารของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยจิตวิทยาส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติในร้านอาหารของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร
           วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลแบบทุติยภูมิและข้อมูลแบบปฐมภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติวัยทำงานในที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยอาศัยแบบสอบถามที่มีความเที่ยงตรงและด้านความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบ และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
           ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าเฉลี่ยการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพ (2)ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติในร้านอาหารของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านราคา ตามลำดับ (3) ปัจจัยด้านทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติในร้านอาหารของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความสะอาด การลดการทารุณสัตว์ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม คุณภาพดีปลอดภัย ตามลำดับ


*นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี 10250 วิทยานิพนธ์ภายใต้การควบคุมของ ดร.สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์
Corresponding author: pakavadee24@gmail.com

Article Details

How to Cite
เจริญรัตน์ ภ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารมังสวิรัติในร้านอาหารของประชากรวัยทำงาน ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 341–351. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.25 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2561).สถิติสาธารณสุข 2561.[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.pcko.moph.go.th/Health-Statistics/stratistics61.pdf

แก้ว กันสกาดอำไพ. (2561). มูลนิธิโลกสีเขียว “กินดีอยู่ดี”. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564, จากwww.greenworld.or.th (doi.org/10.1136/4131).

จิตตวุฒิ รัตตกุล. (2560). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). การศึกษาปัจจัยทางการตลาดต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมี่ยม : กรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์ และ สุพจน์ กฤศฎสธาร . (2563). การตลาดบริการ Services Marketing. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ฟิลิป คอตเลอร์, เหมะวัน การตะจายา และ ไอวัน เซเตียวาน. (2564) การตลาด 5.0 (ณงลักษณ์ จารุวัฒน์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์

ศิริวรรณ เสรีรัตน์.(2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไดมอนด์ธุรกิจ.

ศศิอารียา แสวงทรัพย์. (2561). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้หญิงวัยทำงาน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 30–44. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2018.19

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). Analysis SME. ไม่จำเจปรับกลยุทธ์รับเทศกาลกินเจ ค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 จาก www.kesikornresearch (vegetarian.pdf kasikornresearch.com)

Kotler, P. and Armstrong G. (2003). Marketing: An Introduction. (6 th ed). Upper Saddle River, NJ. Prentice-Hall.

Kotler, P. (2003). Marketing management. (11 th ed). NJ. Pentic - Hall.

Kotler. P. and Keller. L.K. (2006). Marketing Management. NJ. Pearson Education.

Leavitt, J.H. (1988). Managerial Psychology: Managing Behavior in Organization. (5 the ed). NY. Prentice-Hall.

Seth, J.N. and Mittal. B. (2004). Consumer Behavior. A Managerial Perspective. (2 nd.ed) Manson, OH. Thomson South-West.

Solomon, M.R., (2004). Consumer Behavior. Buying, Having and Buying. Upper Saddle River, NJ.Prentice-Hall.