ความรู้ทางด้านการเงิน ปัจจัยและแรงจูงใจในการตัดสินใจลงทุนที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของนักลงทุนในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุภาพร เพ่งพิศ
ณัฐดนัย อลีนจิตพงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะประชากรของนักลงทุนในกรุงเทพมหานครกับพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความรู้ทางด้านการเงินที่มีผลต่อปัจจัยในการตัดสินใจลงทุน แรงจูงใจในการลงทุนและพฤติกรรมการลงทุน (3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจลงทุนที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุน และ (4) เพื่อศึกษาแรงจูงใจการลงทุนที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุน
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่าง 460 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าที สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าเอฟ และการวิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้าง
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการลงทุน พบว่า นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีช่วงอายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ ประสบการณ์การลงทุน ระยะเวลาในการถือครอง จำนวนหลักทรัพย์ที่ถือครองวิธีการชำระเงิน สถานที่และปริมาณเงินที่ใช้ลงทุน ที่แตกต่างกันมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการลงทุนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (2) ความรู้ทางด้านการเงินมีผลเชิงบวกต่อปัจจัยในการตัดสินใจลงทุน แรงจูงใจในการตัดสินใจลงทุน และพฤติกรรมการลงทุน (3) การตัดสินใจลงทุนมีผลต่อแรงจูงใจในการลงทุนและพฤติกรรมการลงทุน และ (4) แรงจูงใจการลงทุนที่มีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


*1,2อาจารย์ประจำหลักสูตร วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 73170
Corresponding author: Supaporn.Phe@rmutr.ac.th

Article Details

How to Cite
เพ่งพิศ ส. . ., & อลีนจิตพงศ์ ณ. . . (2023). ความรู้ทางด้านการเงิน ปัจจัยและแรงจูงใจในการตัดสินใจลงทุนที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของนักลงทุนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 328–340. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.24 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ศรีนวล.(2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการลงทุน และแรงจูงใจในการลงทุน ที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.การค้นคว้าอิสระ.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

กนกดล สิริวัฒนชัย และอิทธิกร ขำเดช. (2557). การตัดสินใจลงทุนในหุ้นของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18 -48 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงินการลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(1),521-542.

คมสันต์ สันติประดิษฐกุล. (2563). การตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของนักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยรามคำแหง. การค้นคว้าอิสระ.คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ,14 สิงหาคม 2564 จาก http://www.set.or.th/th/products/equities/equities_p1.html.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). สรุปภาพรวมตลาด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ,14 สิงหาคม 2564 จาก https://marketdata.set.or.th/mkt/marketsummary.do

วิไล เอื้อปิยฉัตร (2560).ความรู้ทางการเงิน : ตัวกำหนดผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการออม.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(47), 67-93.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส พับลิเคชนส.

Almenberg, J., & Dreber, A. (2012). Gender, Stock Market Participation and Financial Literacy. SSE/EFI Working Paper Series No. 737, Retrieved July 23, 2021, from SSRN: https://ssrn.com/abstract=1880909 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.188090

Baker, H. K., & Haslem, J. A. (1974). The impact of investor socioeconomic characteristics on risk and return preferences. Journal of Business Research, 2(4),469- 476.

Calcagno, R., & Monticone, C. (2015). Financial literacy and the demand for financial advice. Journal of Banking & Finance, 50(1), 363-380.

Gould, D. (2016). Quality coaching counts. Retrieved July 23, 2021, from https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0031721716647012

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kotler P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall. Upper Saddle River.

OECD. (2005). Improving Financial Literacy: Analysis of issues and policies. Paris, France. Financial Education: Preliminary International Guidance. Retrieved July 23, 2021, from http://www.OECD.org/finance/financial-education/48212634.pdf

OECD. (2019). Measuring Financial Literacy: Results of the OECD / International Network on Financial Education (INFE) Pilot Study,16-20.

OECD (2020). Economic Surveys Thailand economic assessment of Thailand. The Assessment is Published under the responsibility of Secretary-General of the OECD. Retrieved July 23, 2021, from https://www.oecd.org/economy/surveys/ -Economic-assessment-thailand overview-2020.pdf

Qureshi, S. A., Rehman, K. U., & Hunjra, A. I. (2012). Factors Affecting Investment Decision Making of Equity Fund Managers. Wulfenia Journal, 19(10), 280-291.

Schiffman, L. G; & Kanuk, L. L. (1994) Consumer Behavior. (5th ed.). New Jersey.

Stanton,W. J., & Futrell,C. (1987). Fundamentals of Marketing. (8th ed.) New York :McGraw-Hill

Van Rooij, M., Lusardi, A., & Alessie, R. (2011). Financial literacy and stock market participation. Journal of Financial Economics, 101, 449-472