การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันระดับที่สองของโมเดลวัดการกำจัดความสูญเสียของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด

Main Article Content

สมพล ทุ่งหว้า
รัชชสิทธิ์ เสวกเสนีย์
เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สองของโมเดลวัดการกำจัดความสูญเสียของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารของบริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
          1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สองของโมเดลวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สอดคล้องกลมกลืนตามเกณฑ์ โดยมีค่า X2/df = 0.0873 P value = 0.94456 RMSEA = 0.00 CFI = 1.00 และ SRMR = 0.046 และโมเดลคงองค์ประกอบและตัวแปรสังเกตเดิม
          2. องค์ประกอบด้านที่มีความสำคัญลำดับที่ 1-3 คือ การกำจัดความสูญเสียในการขนส่ง การกำจัดความสูญเสียในการรอคอย และการกำจัดความสูญเสียในของเสีย ตามลำดับ โดยเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญในการนำโมเดลวัดไปใช้ เนื่องจากมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรแฝงภายในบนตัวแปรแฝงภายนอก เท่ากับ 1.00 0.98 และ 0.93 ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบการกำจัดความสูญเสียในต้นทุนการผลิต มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรแฝงภายในบนตัวแปรแฝงภายนอก เท่ากับ 0.63


*1คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
**2 นักวิจัยอิสระ 
***3หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160
Corresponding author: ratchasit95@gmail.com

Article Details

How to Cite
ทุ่งหว้า ส. ., เสวกเสนีย์ ร. ., & สมันต์ตรีพร เ. . (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันระดับที่สองของโมเดลวัดการกำจัดความสูญเสียของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 211–222. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.16 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

ผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2564). สมรภูมิ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” เดือด “โควิด-อีคอมเมิร์ซ” ดันตลาดโตก้าวกระโดด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9640000077313

มาร์เก็ตตี้. (2564). ตลาดขนส่งพัสดุเติบโต แต่ละแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์สปีดหนีคู่แข่งทั้ง ‘ราคา-ความเร็ว’. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564 จาก https://marketeeronline.co/archives/ 222852

มิติหุ้น. (2564). นิ่ม เอ็กซ์เพรส เผยผลการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ปิดยอดขายอยู่ที่ 1,160 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 23%. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564 จาก https://www.mitihoon.com/2021/01/28/219094/

สมพล ทุ่งหว้า. (2564). รายงานวิจัยเรื่อง คุณภาพการบริการและการกำจัดความสูญเสียที่มีอิทธิพลต่อวิถีใหม่ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัตน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

เอสซีบี เอสเอ็มอี. (2561). สร้างหุ่นสวยให้ธุรกิจกับเทคนิค “ลีนโลจิสติกส์”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/leanlogistics

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). Essex, UK: Pearson Education.

Hinkle, D. E., William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). NY: Houghton Mifflin.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.