ตำแหน่งทางการตลาดของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งทางการตลาดของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 380 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามโดยกลุ่มตัวอย่างต้องให้ข้อมูลความแตกต่างและความเหมือนของจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด 10 อันดับแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการแบ่งสเกลหลายมิติ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำแนกเมืองจากความสำคัญของเมือง (เมืองหลัก/เมืองรอง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และทำเลที่ตั้ง (ตอนเหนือ/ตอนใต้ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยกลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่า นครราชสีมาและอุบลราชธานีเป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ในขณะที่ขอนแก่นและอุดรธานีเป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนเหนือ ส่วนบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสุรินทร์เป็นเมืองรองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ และเลย หนองคาย และมุกดาหารเป็นเมืองรองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การวิจัยนี้นำเสนอข้อมูลที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองหลักและเมืองรองเพื่อเพิ่มปริมาณการท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้นได้
*คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40000
Corresponding author: sarun@amatyakul.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติการท่องเที่ยวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวง.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวง.
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). ข่าวเปิดงาน Digital Thailand Big Bang Regional 2018 จ.ขอนแก่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). เราเที่ยวด้วยกัน ทดแทนรายได้จากต่างชาติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892954
กองวิจัยการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ.2563 . กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2564. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2564 จากhttps://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=632
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ปลายทางแบ่งตามภูมิภาค. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563 จากhttps://thai.tourismthailand.org/Destinations
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). จังหวัดอุดรธานี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/Udon-Thani/588
ข่าวสดออนไลน์. (2561). กวักนร. ญี่ปุ่นเที่ยวไทย. ข่าวสดออนไลน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563, จาก https://www.khaosod.co.th/economics/news_1907016
จังหวัดนครราชสีมา. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). นครราชสีมา: จังหวัด.
จิตคุปต์ ละอองปลิว. (2562). การท่องเที่ยวเมืองรอง: การเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี.อินทนิลทักษิณสาร, 14(2), 39-60.
จุไรรัตน์ ศิริมั่งมูล นุชนาถ พันธุราษฎร์ และณัฐฌา ขำศิริ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเภทโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2562. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 (.945-953). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บางกอกเกี้ยน. (2560). เมืองกีฬาบุรีรัมย์. มติชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2563, จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_470164
บีบีซี นิวส์ ไทย. (2563). ไวรัสโคโรนา: อนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็น “การระบาดใหญ่” ทั่วโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564, จาก https://www.bbc.com/thai/international-51838536
โพสต์ทูเดย์. (2564). จุฬาแนะ 6 ข้อ เร่งเครื่อง “เราเที่ยวด้วยกัน”. โพสต์ทูเดย์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563 จาก https://www.posttoday.com/economy/news/648461
เราเที่ยวด้วยกัน. (2564). เราเที่ยวด้วยกัน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564, จาก https://www.เราเที่ยวด้วยกัน.com
วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์วิจัยด้านการตลาดการท่องเที่ยว. (2561). เข็มทิศท่องเที่ยว ไตรมาส 4/2561. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยด้านการตลาดการท่องเที่ยว.
ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). สถิติอุดมศึกษานักศึกษารวม 2563 ภาคเรียนที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก http://www.info.mua.go.th/info/#
สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. (2555). บรรยายสรุปจังหวัดขอนแก่น (เชิงวิเคราะห์). ขอนแก่น: สำนักงานจังหวัดขอนแก่น.
สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์.
สำนักงานจังหวัดหนองคาย. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดพ.ศ.2561-2565 (รอบปีพ.ศ.2564). หนองคาย: สำนักงานจังหวัดหนองคาย.
สำนักงานยุทธ์ศาสตร์กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. (2563). สภาพทั่วไป. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.osmnortheast-n1.moi.go.th/ud/index.php?option=com_content&view=article&id=54&Itemid=87
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). ข้อมูลวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.m-culture.go.th/buriram/main.php?filename=index
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. (2558). ข้อมูลวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.m-culture.go.th/sisaket/more_news.php?cid=7&filename=index
สำนักวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2558). ประเพณีและงานท่องเที่ยวประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.m-culture.go.th/surin/ ewt_dl_link.php?nid=684&filename=index
Aiken, K., Campbell, R., & Koch, E. (2009). Exploring the Relationship between Brand Personality and Geographic Personality: Consumer Perceptions of Sport Teams and Cities. Advances in Consumer Research, 36, 933-934.
Cox, M., & Cox, T. (2008). Multidimensional Scaling. In Chen, C., Hardie, W., & Unwin, A. (Eds.), Handbook of Data Visualization. Heidelberg: Springer.
Gigauri, I. (2019). Applying Perceptual Mapping Method for Successful Positioning Strategy. International Journal of Management and Business Sciences, 1(1), 14-23.
Hastings, G., Angus, K., & Bryant, C. (2011). The Sage Handbook of Social Marketing. Calif: SAGE Publications.
Hunt, C., & Mello, J. (2015). Marketing. New York: McGraw-Hill.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2020). Principles of Marketing (18th ed.). Harlow: Pearson.
Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management. New Jersey: Pearson.
Krejcie, R., & Morgan, D. (1970). Determining Sample Sizes for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Krustal, J., & Wish, M. (1978). Multidimensional Scaling. Newbury Park: SAGE Publications.
Najat, B. (2017). Importance of Customer Knowledge in Business Organizations. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 7(11), 175-187.
Natalia Jaworska, N., & Chupetlovska‐Anastasova, A. (2009). A Review of Multidimensional Scaling (MDS) and its Utility in Various Psychological Domains. Tutorials in Quantitative Methods for Psychology, 5(1), 1-10.
Positioning. (2563). เมืองรองมาแรง! อโกด้าเปิดสถิติคนไทยเที่ยวในประเทศต้องการสถานที่แปลกใหม่สูงขึ้น.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563 จาก https://positioningmag.com/1299995
Raguindin, G. (2019). The Experiences of Repositioning Products by Toy Collectors: A Descriptive Phenomenological Study. International Journal of Business Marketing and Management, 4(4), 66-82.
Sophonsiri, S., & Polyorat, K. (2009). The Impact of Brand Personality Dimensions on Brand Association and Brand Attractiveness: The Case Study of KFC in Thailand. Journal of Global Business and Technology, 5(2), 51-62.
Tybout, A., & Calder, B. (2010). Kellogg on Marketing. New Jersey: Wiley.
Wirtz, B., & Daiser, P. (2018). Business Model Development: A Customer-Oriented Perspective. Journal of Business Models, 6(3), 24-44.
World Health Organization. (2020). WHO Thailand Situation Report-95. Retrieved April 7, 2020, from https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-06-29-tha-sitrep-94-covid-19.pdf?sfvrsn=b057e665_4
World Tourism Organization. (2010). The Power of the Youth Travel. Madrid: Spain.