ปัจจัยพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกและปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อ ความก้าวหน้าในอาชีพ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต

Main Article Content

อภิวัชร ฉายอรุณ
กฤษฎา มูฮัมหมัด

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยพฤติกรรมการทำงานเชิงรุก และปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากร จำนวน 344 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง เพื่อวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ด้วย t-Test, F-Test, Welch Test และใช้การวิเคราะห์พหุคูณแบบถดถอย เพื่อทดสอบความสัมพันธ์จากสมมติฐาน
           ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต โดยภาพรวม มีดังนี้ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา สายงาน ตำแหน่งงาน อายุงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภาวะหนี้สิน 2) ปัจจัยพฤติกรรมการทำงานเชิงรุก ได้แก่ ด้านการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ด้านการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา และด้านการนำเสนอความคิดเห็นของตน และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ด้านความต้องการมีสัมพันธภาพ และด้านความต้องการความเจริญก้าวหน้า


*คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปทุมธานี 12000
Corresponding author: kritsada.m@rsu.ac.th

Article Details

How to Cite
ฉายอรุณ อ. . ., & มูฮัมหมัด ก. . (2023). ปัจจัยพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกและปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อ ความก้าวหน้าในอาชีพ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 164–173. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.12 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สังหรณ์ เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล และอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2559). การสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้และพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร, 44 (4), 134-144.

จารุวรรณ เมืองเจริญ และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะของงานที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10 (2), 117-127.

ธีรพงศ์ บุญญรัตน์ รุ่งนภา กิตติลาภ และรัชดา ภักดียิ่ง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9 (2), 107-117.

นันธิชา ปัจจัยโย สมใจ บุญหมื่นไวย และ พร้อมพร ภูวดิน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในการทำงานของอาจารย์สอนบัญชีในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9 (1), 220 – 226.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จามจุรี โปรดักท์.

รักชนก แสวงกาญจน์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 6 (1), 171-185.

วรรณภา ชำนาญเวช. (2551). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานของพนักงานธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุกัญญา แก้วประเสริฐ และลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพ ของปลัดอำเภอในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5 (2), 258-270.

สุรพงษ์ มาลี. (2563). แนวโน้ม HR ที่น่าจับตาปี ค.ศ. 2020. วารสารข้าราชการ, 62 (1), 10-13.

สิริวัชร รักธรรม. (2553). ความก้าวหน้าในอาชีพของลูกจ้างในองค์กรพัฒนาเอกชน. สารนิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ. (2557). วิชาตกเขา. ปทุมธานี: อาร์เอสยู พับลิชชิ่ง.

Alderfer, C. P. (1976). ERG Theory of Motivation Clayton Alderfer's revision of Abraham Maslow. New York: Harper and Row.

Fiske, P. S. (2012). Putting Your Science to Work: Practical Career Strategies for Scientists. Retrieved November 30, 2020, from https://www.aps.org/careers/guidance/webinars/upload/Fiske-Booklet.pdf

Moore, R. (2018). Employee Debt Linked to Lower Work Productivity. Retrieved November 30, 2020, from https://www.plansponsor.com/employee-debt-linked-lower- work-productivity/

Noe, R. A. (2011). Fundamentals of Human Resource Management. United States: McGraw Hill Higher Education.

Parker, S. K., & Collins, C. G. (2010, July). Integrating and Differentiating Multiple Proactive Behaviors. Journal of Management, 36 (3), 633 - 662.

Schwab, K. (2017). The Fourth Industrial Revolution. United Kingdom: Penguin Books Limited.