ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

พงษ์สันติ์ ตันหยง
ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา
จันทนา พงศ์สิทธิกาญจนา
พัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะผู้ประกอบการ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ การรับรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ การจัดการศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 191 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควต้า การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอ้างอิงใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุวิธีแบบขั้นตอน
                ผลการวิจัยพบว่า
                1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะผู้ประกอบการ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ การรับรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ การจัดการศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมอยู่ในระดับมากทั้งหมด
                2) ปัจจัยทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ การรับรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ และการจัดการศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 59.00 นำเสนอสมการได้ดังนี้
                Y ̂tot= 0.544 + 0.183** (X3) + 0.104** (X2) + 0.093** (X4)


* อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
** อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
*** อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Corresponding author: ptanyong@npru.ac.th

Article Details

How to Cite
ตันหยง พ. . ., พงศ์สิทธิกาญจนา ธ. ., พงศ์สิทธิกาญจนา จ. ., & นิมิตรศดิกุล พ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 322–333. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.49 (Original work published 31 ธันวาคม 2021)
บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่

กรุงเทพธุรกิจ.(2563). เศรษฐกิจโลก 2020 : เรื่อยๆ มาเรียงๆ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/863821

ณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ. (2560). Startup คิดให้ดัง ทําให้รวย. กรุงเทพมหานคร: โมเมนตั้ม.

มารยาท โยทองยศ และ ทรงวาด สุขเมืองมา. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะเป็น ผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรี:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สุทธิปริทัศน์, 95(3), 103-115.

เมธาวี เกียรติพรพิเชฐ และจรัญญา ปานเจริญ. (2560). คุณลักษณะและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/202/7-2-15.pdf

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สุชาติ ไตรภพสกุลและชาคริต พิชญางกูร. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุต่อการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, 22(1), 44-60.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง 2560-2564. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/

สำนักวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2563). จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563, จากdhttps://reg.npru.ac.th/registrar/studentset.

อนงค์ รุ่งสุข. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human

decision processes, 50(2), 179-211.

Erdfelder, E., Faul, F., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavioral Research Method, 39, 175-191.

Daft, R. (2017). The leadership experiences. USA: Cengage Learning.

Nguyen Anh Tuana,, Do Thi Hai Hab, Vu Thi Bich Thaoc, Dang Kim Anhd, Nguyen Hoang Long. (2019). Factors affecting entrepreneurial intentions among youths in Vietnam. Children and Youth Services Review, 99(2019), 186-193.

Radzi, K. M., Nor, M. N. M., and Ali, S. M. (2017). The impact of internal factors on small business success: A case of small enterprises under the FELDA scheme. Asian Academy of Management Journal, 22(1), 27.

Straub, J. T. and Attner, R. F. (1994). Introduction to Business. (5th ed.). Belmont, CA: Wadsworth.