โครงสร้างผู้ถือหุ้น ความสามารถในการทำกำไร และโครงสร้างเงินทุนที่มีผลต่อ การวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา โครงสร้างผู้ถือหุ้น ความสามารถในการทำกำไร และโครงสร้างเงินทุน ที่มีผลต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มตัวอย่างคือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ยกเว้นบริษัทในลักษณะกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิซึ่งรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี ระหว่างปี 2560 – 2562 จากระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์บนอินเทอร์เน็ต จำนวน 237 ตัวอย่าง การวัดค่าการวางแผนภาษีในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลวัดค่าจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง โครงสร้างผู้ถือหุ้นศึกษาในกลุ่มผู้ถือหุ้นแบบครอบครัว ความสามารถในการทำกำไรวัดค่าโดยอัตราส่วนกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และโครงสร้างเงินทุนวัดจากอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวและโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่มีแหล่งเงินทุนมาจากการกู้ยืมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการวางแผนภาษี ส่วนความสามารถในการทำกำไรมีอิทธิพลเชิงลบต่อการวางแผนภาษี
* หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 12110
Corresponding author: janya_k@mail.rmutt.ac.th
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรัณฑรัตน์ บุญญวัฒน์ และ ศักดา มาณวพัฒน์. (2554). โครงสร้างการถือหุ้นและคุณภาพของการรายงานทางการเงิน. วารสารนักบริหาร, 31(2), 152-158.
ชาครีย์ อักษรถึง และ คธาฤทธิ์ สิทธิกูล. (2559). การพัฒนาดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของไทย. Stat-Horizon Statistics and Information Systems Department. ธนาคารแห่งประเทศไทย [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564 จาก https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Articles/Doc_Lib_stat isticsHorizon /RPPI.pdf.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/indus try_sector_p1.html
ธัญพร ตันติยวรงค์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษีและความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่าของกิจการ : หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบัญชีดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
เยาวนารถ เพียรธนะกูลชัย. (2552). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านขนาดและสัญชาติของบริษัทกับระดับการวางแผนภาษีอากรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างของผู้ถือหุ้นกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์. วารสารวิชาชีพบัญชี, 4(10), 26-39.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). กระแสทรรศน์ 3168. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https:// kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3168-construction.aspx.
Aminah, A., Chairina, C. & Sari, Y. Y. (2017) The influence of company size, fixed asset intensity, leverage, profitability, and political connection to tax avoidance. AFEBI Accounting Review (AAR), 2(2), 30-43.
Dyreng, S.D., Hanlon, M., and Maydew, E.L. (2006). Long-Run Corporate Tax Avoidance. Retrieved December 25, 2020, from http://papers.ssrn.com/sol3/ papers .cfm?abstract _id=1017610
Halon, M., Mills, L. F., & Slemrod, J. B. (2005). An empirical examination of corporate tax noncompliance. Ross School of Business Paper No. 1025 Retrieved December 26, 2020, from http://ssrn.com/abstr act=891226 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.
.891226.
Hoffman, W. H. (1961). The theory of tax planning. The Accounting Review, 36(2), 274 – 281.
Irianto, B. S., Sudibyo, Y. A. & Wafirli, A. (2017). The influence of profitability, leverage, firm size and capital intensity towards tax avoidance. International Journal of Accounting and Taxation. 5(2), 33-41.
La Porta, R., Lopez-de-Silanes, F., Shleifer, A., & Vishny, R. (2000). Investor protection and corporate governance. Journal of Financial Economics, 58(1-2), 3-27.
Manurung, A. H. (2019). The influence of liquidity, profitability, intensity inventory, related party debt, and company size to aggressive tax rate. Archives of Business Research, 7(3). 105-115.
Modigliani, F., & Miller, H. M. (1958). The cost of capital corporation finance and the theory of investment. The American Economic Review, 48(3), 264-297.
Pearson, E. S. (1932). The test of significance for the correlation coefficient: Some further results. Journal of the American Statistical Association, 27(180), 424–426.