ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีเป้าหมายเพื่อศึกษา 1. ศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐม และ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตจังหวัดนครปฐมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 129 ราย กำหนดขนาดด้วยโปรแกรม G*Power 3.1.9.2 และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเชิงปริมาณ 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 5 ด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการแก้ไขปัญหา ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี และอยู่ในระดับน้อยจำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษาต่างประเทศ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 4 ปัจจัย เรียงตามลำดับค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ปัจจัยความรู้ทางการบัญชี (X1, β = 0.41) ปัจจัยสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้จัดทำบัญชี (X4, β = 0.31) ปัจจัยทักษะทางวิชาชีพบัญชี (X2, β = 0.24) และปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี (X3, β = 0.12) โดยมีสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.27
(R2 = 0.27) และมีสมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Z = 0.41Z1+0.24Z2+0.12Z3+0.34Z4
* รองศาสตราจารย์สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยธนบุรี 10160
Corresponding author: supanee_injun@hotmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมพัฒนาชุมชน. (2563). สถิติผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2563). การประเมินผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2561). ข้อมูลจำนวนวิสาหกิจในจังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.
จิตรลดา ศรีแก้ว สุวรรณา บุญมาก และ ปริยากร สว่างศรี. (2563). ศักยภาพในการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในเขตนิคม และในเขตประกอบการอุตสาหกรรม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7, วิทยาลัยนครราชสีมา, 187-198.
รดาภัค พลคำแก้ว และอัจฉรา ชนากลาง. (2563).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน โดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรกำกับ : กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 4(13), 261-274.
ศราวุธ พงศ์พัฒนพาณิชย์. (2556). จรรยาบรรณวิชาชีพสภาวิชาชีพบัญชี. กรุงเทพฯ : บันลือสาสน์.
ศิริพร มูลสาร และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย, วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(2), 65-75.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2557). มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2554). กรุงเทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชี.
เอกวินิต พรหมรักษา, วิชิต อู่อ้น และนนทิพันธุ์ ประยูรหงส์. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017”, 200-210.
Behn, Carcello, and Hermanson. (1997). The Determinants of audit Client Satisfaction Among Clients of Big 6 Firms. Accounting Horizons, 11, 7-24.
Buntong, V. (2016). Accounting System and Internal audit of Village fund: A Case study Pranburi District Prachuapkhiri khan Province. Research Report. Nakhon pathom: Research and Development Institute Rajamangala University of Technology
Rattanakosin.
Dickins D. and Higgs J. L. (2006). Shopping for an Auditor. Corporate Accounting & Finance: Wiley Periodicals.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical. Behavior research methods, 39 (2), 175-191.
International Federation of Accountants: IFAC (2008) Guide to Quality Control for Small and Medium Sized Practices. (3rd ed)., New York. IFA.
Kavanagh, H. (2008). What skills and attributes do an accounting graduate need? Evidence from student perceptions and employer expectations. University of Southern Queensland Australia.
Kongmitree, N. (2015). The relationship between Accountability with efficiency Performance of accountants in the governing organization Local in Kalasin Province. Journal of Accounting and Management, Mahasarakham University, 7(1), 117-127.
Laudon, K. C. (2012). Management Information Systems: Organization and Technology. Upper Saddle, NJ: Prentice Hall.
Loiacono et al. (2006). WebQuery: A measure of website quality. American Marketing Association, 13, 432-438.
McClelland, C. (20004). A guide to job competency assessment. Davies-Black Publishing.
Nelson, R. R., Todd, P. A., & Wixom, B. H. (2015). Antecedents of information and system quality: an empirical examination within the context of data warehousing. Journal of management information systems, 21(4), 199-235.
Redman, R. W. (2007). Critical challenges in doctoral education: Highlights of the biennial meeting of the International Network for Doctoral Education in Nursing, Tokyo, Japan, 2007. Japan Journal of Nursing Science, 4(2), 61-65.
Romney, M. B., & Steinbart. P. J. (2009). Accounting Information Systems. (10th Ed.) Upper Saddle, NJ: Prentice Hall.