พฤติกรรมการท่องเที่ยว ความพึงพอใจ และการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สะพานรักษ์แสม จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยอง 2.ศึกษาความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยอง 3.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยองกับการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สะพานรักษ์แสมจังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบเจาะจงและการเก็บตัวอย่างแบบโควต้า รวมทั้งสิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ (Chi-Square) และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA สถิติที่ใช้คือ (F-test) ในกรณีที่ทดสอบแล้วมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้การเปรียบเทียบพหุคูณ โดยใช้วิธีการทดสอบ (LSD Test) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้สถิติ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า
1) นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นนักท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางประชากรด้านเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยองไม่แตกต่างกัน
2 ) นักท่องเที่ยวที่มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สะพานรักษ์แสมจังหวัดระยองในภาพรวมและรายด้านทุกด้านเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
*วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการบริหารการสื่อสารการตลาดและองค์กร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี 20000 ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ ดร.เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง
Corresponding author: sbutrsnm@gmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว รายไตรมาส. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=315
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). ยุทธศาสตร์และนโยบาย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.mots.go.th/News-view.php?nid=5500
จรัสนันท์ สิทธิเจริญ. (2551). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในภาคเหนือของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2548). การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลในการวิจัยโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 10-12. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.พี.เอ็น การพิมพ์จำกัด.
พัชรินทร์ บุญนุ่น ลัดดา ทองตั้ง และวันดี นวนสร้อย. (2563). การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชนย่านฉื่อฉาง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรณีศึกษา: ช่วงเทศกาลกินเจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2) , 135-148.
มนตรี เฉียบแหลม. (2536). รายงานการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจในภาวะหน้าที่และงานของเกษตรอําเภอในจังหวัดภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มนรัตน์ ใจเอื้อ. (2550). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวด้านการแพทย์ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กรณีศึกษา : กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2535). ความลับขององค์การ "พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่". (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
อภินันท์ จันตะนี. (2550). สถิติและการวิจัยทางธุรกิจ สำหรับนักศึกษา MBA. และ Ph.D. พระนครศรีอยุธยา: ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุธีรา คงอยู่ และปริยา รินรัตนากร. (2560). พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลของชาวภูไท. วารสารช่อพะยอม, 28(1), 231-235.
อังคณา ดิษฐวงษ์ และวงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2563). การตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเมืองรองจังหวัดกำแพงเพชรของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(2), 46-57.
Kotler, P. (1999). Marketing management analysis, planning and control. (10th ed). New Jersey: Prentice Hall.