ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ระชา เมืองสุวรรณ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา 3) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นและกำหนดวิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เพื่อหาจำนวนตัวอย่างในแต่ละส่วนงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 340 คน
                ผลการศึกษา พบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (X2) และ ด้านความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่ง (X4) ส่งผลต่อความผูกพัน ต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 34.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
               โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y ̂ = 1.183 + 0.146(X1) + 0.202(X2) + 0.088(X3) + 0.265(X4)


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตหัวหิน 76120 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิตยา สินเธาว์
Corresponding author: Racha@go.buu.ac.th

Article Details

How to Cite
เมืองสุวรรณ์ ร. . (2023). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 125–137. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.36 (Original work published 31 ธันวาคม 2021)
บท
บทความวิจัย

References

กมลภัทร กาญจนเพ็ญ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนสามัญศึกษาในเครือซาเลเซียน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิติยา อินทรอุดม. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิรพรรณ พรเลิศประเสริฐ. (2556). บุคลิกภาพเชิงรุก การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ กรณีศึกษา พนักงานบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ใช้ระบบโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนิดา เล็บครุฑ. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชินกร และ ปภาดา. (2559). รายงานการวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุติวรรณ ชมพรนานันท์. (2556). บุคลิกภาพแบบ MBTI การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรและการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ กรณีศึกษาพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารกรุงเทพ (ในเขตกรุงเทพมหานคร). วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสิทธิชัย เดชขำ. (2557). เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28 (85), 189-203.

ผกาทิพย์ สัจจามมั่น จารุวรรณ ธาดาเดช วิริณธิ์ กิตติพิชัย และ สุวรรณี แสงมหาชัย. (2559). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนทั่วไปใน Generation Y ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 41 (3), 62-72.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2556). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2556. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2560). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2563. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2563). รายงานประจำปี มหาวิทยาลัยบูรพา 2562. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภาระดับปฏิบัติงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

โศรตี โชคคุณะวัฒนา. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีน ครินทรวิโรฒ.

สุภารัตน์ น้ำใจดี. (2548). คุภาพชีวิตและปัญหาในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานและแนวโน้มพฤติกรรมการลาออกของบุคลากรมหาวิทยาราชภัฏสวนดุสิต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Gattiker, U. E., & Larwood, L. (1986, December). Subjective Career Success: A Study of Managers and Supports Personal. Journal of Business and Psychology, 1 (2), 78-94.

Hennequin, E. (2007). What Career success means to Blue – Collar works. Journal of Career Development International, 12 (6), 565-581.

Robbins, S. P. (2003). Organizational behavior: Concepts, controversies and application. New Jersey: Prentice-Hall.

Steers, R.M. (1977). Antecedents and outcome of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22 (1). 46-56.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row. Publishers, Inc