ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงยุค 4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

กฤตยา กำไลแก้ว

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (2) ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (3) ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ที่มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่เป็น ข้าราชการ พนักงานจ้างตามภารกิจ และลูกจ้างชั่วคราวขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 130 คน จากประชากรทั้งสิ้นจำนวน 282 คน และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. ระดับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมและรายด้าน มีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการประเมินวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ และด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์
                 2. ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ การประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม ด้านการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล และด้านการสร้างนวัตกรรม
                 3. ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ด้านการสร้างนวัตกรรม มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม และด้านการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 57.70 สมการการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ คือ
                  Ŷ = 0.527 + 0.259 (x1) + 0.318 (x2) + 0.282 (x3)


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตหัวหิน 76120 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ
Corresponding author: khitta.2499@gmail.com

Article Details

How to Cite
กำไลแก้ว ก. . (2023). ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงยุค 4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 98–110. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.34 (Original work published 31 ธันวาคม 2021)
บท
บทความวิจัย

References

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรชัย เจดามาน นิตยาพร กินบุญ และ ไพฑูรย์ พิมดี. (2559). ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาลบิวเดอร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2559). สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ. 2560 ประเทศไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

อ้อยฤดี สันทร. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เทศบาลนครในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.