นวัตกรรมชุมชนเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน

Main Article Content

ญาณิศา เผื่อนเพาะ
ประสพชัย พสุนนท์

บทคัดย่อ

               บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทบทวนพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยของนวัตกรรมเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชน การอภิปรายปรากฏการณ์จากผลลัพธ์ของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นดังต่อไปนี้ ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมชุมชน องค์ประกอบของนวัตกรรมชุมชน การเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุน และความยั่งยืนของชุมชน โดยในบทความนี้ ความหมายนวัตกรรมชุมชน คือการสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์เพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชน ต่อยอดความรู้หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างสมดุล องค์ประกอบของนวัตกรรมชุมชน 3 ประการ คือ 1.นวัตกรรมเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือส่งเสริมชุมชน 2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน และ 3.ความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายภายในและภายนอกชุมชน โดยการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจชุมชนนั้นเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน สวัสดิการของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน การวางแผนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในประเทศไทย ควรมองความสมดุลกันระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา โดยไม่ลืมวัฒนธรรมรากฐานของชุมชน โดยมีการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิต ผลการศึกษานี้ ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนได้แนวทางการสร้างและพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืนต่อไป


* คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 13000
** สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี 76120
Corresponding author: y.phuanpoh@gmail.com

Article Details

How to Cite
เผื่อนเพาะ ญ. ., & พสุนนท์ ป. . (2023). นวัตกรรมชุมชนเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 32–44. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.30 (Original work published 31 ธันวาคม 2021)
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์ศรี สิมสินธุ์ ภูษิต บุญทองเถิง และ ทัศนีย์ นาคุณทรง. (2559). นวัตกรรมชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารบริหารการศึกษา, 12 (1), 83-94.

จิตรลดา พันธุ์พณาสกุล และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2562). การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย : การทบทวนวรรณกรรม.วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 16(2), 19-39.

จุฑารัตน์ บันดาลสิน. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 9-17.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2562). การจัดการความเสี่ยงในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 191 - 200.

ดนชนก เบื่อน้อย. (2559). นวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์.วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 3(1), 1-12.

นพพร จันทรนาชู, พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์ และยุวรี ผลพันธิน. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 3217-3232.

บรรเลง อินทร์จันทร์. (2559). นวัตกรรมสังคมอันเนื่องมาจากพระราชด้าริในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 48-56.

ยุทธชัย ฮารีบิน สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และสุนันทา เสียงไทย .(2559). ความสามารถด้านเครือข่ายและความสามารถเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารนักบริหาร Executive Journal, 36(2), 79-88.

รังสิยา นารินทร์ และเรณู มีปาน (2558). นวัตกรรมการจัดการดูแลสุขภาพของชุมชน: ‘อาสาปันสุข’. วารสารพยาบาลสาร, 42(4), 1-11.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์ (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญ ต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33(128), 49- 65.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 121-134.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2017). ความเป็นมาของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals: SDGs). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2563, จาก http://sdgs.nesdb.go.th/about.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). ประวัติสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก https://www.mhesi.go.th/main/th/org/1511-nia.html.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). ประเทศไทยอยู่จุดไหนในอันดับนวัตกรรมโลก (GLOBAL INNOVATION INDEX: GII 2019). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2563, จาก https://www.nia.or.th/GII2019.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการกรรมการสภาผู้แทนราษฎร.(2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองท้องถิ่น. เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการกรรมการสภาผู้แทนราษฎร. 1-11.

เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคณาภูมิ. (2559). หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ. วารสารวิชาการ แพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 170-193.

อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2560). องค์การนวัตกรรม: มโนทัศน์ และตัวแบบเชิงทฤษฎี. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 57(3), 158-187.

อุ่นเรือน เล็กน้อย. (2556). บทบรรณาธิการ. วารสารวิจัยสังคม Journal of Social Research, 36(1), i-v.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาองค์การ: ประเด็นทบทวนสู่การประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38(6), 24-48.

Cleopatra, V., and Black, L. (2019). Creating and managing participative brand communities: The roles members perform. Journal of Business Research: 1-13.

Curie, P., and Tantiyaswasdikul, K., and Evans, S., and Lertwattanaruk, P., (2019). Innovation catalysts for industrial waste challenges: Sri Lankan and Thai cases. Procedia Manufacturing. 33: 570-577.

Jingcheng, F., and Wu, J., and Liu, C., and Xu, J. (2016). Leaders in communities of real-world networks. Physical A: Statistical Mechanics and its Applications. 444: 428-441.

Kendra, J. M., and Wachtendorf, T. (2007) Community Innovation and Disasters. In: Handbook of Disaster Research. Handbooks of Sociology and Social Research. New York : Springer,

Omer, M.A., and Noguchi, T. (2020). A conceptual framework for understanding the contribution of building materials in the achievement of Sustainable Development Goals (SDGs). Sustainable Cities and Society. 52: 1-14.

Prummer, A., and Siedlarek, J. P. (2017). Community leaders and the preservation of cultural traits. Journal of Economic Theory. 168: 143-176.

Robbins, S. P., and Coulter, M. (2002). Management. (7th ed). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall

Sherry, J. (2019). The impact of community sustainability: A life cycle assessment of three ecovillages. Journal of Cleaner Production. 237: 1-13

Suebvises, P. (2018). "Social capital, citizen participation in public administration, and public sector performance in Thailand. World Development, 109: 236-248.