คุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

อภิสมัย พัฒน์ทอง

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (2) ปัจจัยในการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (3) ปัจจัยในการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มาใช้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 จำนวน 130 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. คุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวม มีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า ด้านที่มีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ส่วนด้านที่มีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการรู้จักและเข้าใจต่อผู้รับบริการ ด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการ และด้านความเป็นรูปธรรมในการให้บริการ
                2. ปัจจัยในการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ในภาพรวม มีการให้บริการอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ด้านที่มีการให้บริการอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความต้องการส่วนบุคคล ด้านประสบการณ์ในอดีต ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ส่วนด้านที่มีการให้บริการอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการบอกเล่าจากบุคคลอื่น
                3. ปัจจัยในการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร มีอิทธิพลกับคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วย ด้านประสบการณ์ในอดีต (b=0.396) ด้านความต้องการส่วนบุคคล (b=0.217) ด้านการบอกเล่าจากบุคคลอื่น (b=0.197) และ ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ (b=0.101) ตามลำดับ สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 73.50 สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณได้ดังนี้ คือ
                 Ŷ = 0.197 (x1) + 0.217 (x2) + 0.396 (x3) + 0.101 (x4)


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตหัวหิน 76120 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิเศษ ชัยดิเรก
Corresponding author: aphispping@gmail.com

Article Details

How to Cite
พัฒน์ทอง อ. . (2023). คุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 1–14. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.28 (Original work published 31 ธันวาคม 2021)
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนามาส ชำนาญกิจ (2555). ทัศนคติของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการสื่อสารแบบปากต่อปากของการให้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลหลักช้าง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน, 19(1), 1-35.

เทศบาลตำบลบางปลา. (2562). งานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลตำบลบางปลา. เทศบาลตำบลบางปลา.

ธนภัทร สุทธินุ่น. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาการบริการของบุคลากรในหน่วยงานทะเบียนราษฎร และบัตรประจำตัวประชาชนเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

นัตติยา ภู่สละ. (2559). ความคาดหวังในการส่งมอบที่รวดเร็ว ประสบการณ์การใช้บริการ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความกังวลต่อเทคโนโลยี การใช้งานจริง และความน่าเชื่อถือที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเครื่องรับชำระเงินอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิดา โฆวงศ์ประเสริฐ. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการเข้ารับบริการงานทะเบียนราษฎร กรณีศึกษา:ที่ว่าการอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ประยุทธ จันทร์พิทักษ์กุล. (2558). ระบบและกระบวนการให้บริการทะเบียนราษฎรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะขวาง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ปราณี ศรีเมือง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรลภัส แก้ววันดี. (2557). การประเมินคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ตามมาตรฐานภาครัฐ โดยใช้ระบบการบริการประชาชนและภาคเอกชน (Services System) P.S.O.1107 ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2(2), 105-113.

รัชนู ภู่วัด. (2558). คุณภาพการให้บริการงานทะเบียน ด้านทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท. การศึกษาค้นคว้าบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทยัธรรมาธิราช.

ลัชชมณต์ กระจ่าง. (2561). การพัฒนาคุณภาพการบริการงานทะเบียนราษฎรของเทศบาลนครภูเก็ต. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

Parasurama, A., Zeithaml, V. A. & Berry. L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Marketing 64 (15), 12-40.

Green, S. B. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? .Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.

Turner, J. C. (1982). Towards a cognitive redefinition of the social group. Cambridge, England: Cambridge University.