พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตที่อยู่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 336 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควต้าโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า 2 เท่ากับ 56.444 p-value เท่ากับ 0.002 2/df เท่ากับ 1.881 GFI เท่ากับ 0.974 AGFI เท่ากับ 0.932 CFI เท่ากับ 0.994 NFI เท่ากับ 0.988 และ RMSEA เท่ากับ 0.051 สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์
ร้อยละ 87
* คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
** คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Corresponding author: krisada_c@rmutt.ac.th
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุข สันติกร ภมรปฐมกุล และ วิจิตรา ผลมะม่วง. (2562). แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 6(2), 36-49.
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
กุลธิดา กรมเวช. (2558). ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการพัฒนา. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 7(2), 87-103.
คงกฤช วุฒิสุชีวะ และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การผ่านการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและการกำกับตนเองของข้าราชการทหารสังกัดกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3 (3), 1-19.
ชาลีวัฒน์ จิตต์โสภา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งโรงงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20 (2), 75-82.
ชุติกา เกียรติเรืองไกร, พรชนก เทพขาม, และวัชรินทร์ ชินวรวัฒนา. (2563). 10 อุตสาหกรรมไทย เรามาไกลแค่ไหน. Focused and Quick, 165, 1-12.
ธีรวัฒน์ เจริญผล, กันตภณ หนูทองแก้ว, พระสุริยา สุริโย, พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี, และพระมหาศักดิ์ดา สิริเมธี. (2561). การนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 3 (1), 65-80.
บุศกร เสาะแสวง, ภาณุ เชาว์ปรีชา, และลัดดาวัลย์ สำราญ. (2557). อิทธิพลของอิทธิบาท 4 ที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สพม. เขตพื้นที่กรุงเทพฯ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 8 (2), 55-64.
ปิ่นมณี ขวัญเมือง. (2557). หลักอิทธิบาท 4: เส้นทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13 (3), 1-7.
เปลวเทียน เสือเหลือง และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2558). การมีส่วนร่วมและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ The 7th ASEAN + C + I Symposium on Business Management Research (479-493). ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผอบทอง สุจินพร้อม. (2559). การนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารมหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5 2), 102-111.
พระครูอุทัยสุตกิจ, สุทธนู ศรีไสย์, และจินต์ วิภาตะกลัศ. (2558). ความสำเร็จของการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท4ของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20 (2), 161-171.
พระถวิล ยสินฺธโร. (2558). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล หนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4 (1), 104-118.
พระธรรมโกศาจารย์. (2551). ธรรมในใจของนักบริหารไฮโซ. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 20 มิถุนายน 2551.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2545). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.
พาณุวงศ์ คัมภิรารักษ์ และแก้วตา โรหิตรัตนะ. (2561). อุตสาหกรรม 4.0 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตไทย. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7 (3), 52-64.
พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4 (2), 92-100.
ภาณุ ปัณฑุกำพล และกฤษดาเชียรวัฒนสุข. (2562). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 6 (1), 138-151.
มรกต จันทร์กระพ้อ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การสร้างองค์การแห่งนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศขององค์การ. วารสารนักบริหาร, 39 (1), 52-66.
สำนักงานแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). สถานการณ์แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: ผู้แต่ง.
Charutawephonnukoon, P. (2020). Organizational citizenship behavior as a mediator of the relationship between ethical leadership and employee efficiency: A case study of generation y employee in modern trade sector. Solid State Technology, 63 (4), 2585-2593.
Chienwattanasook, K., Onputtha, S., and Teppang, T. (2018). Achievement Motive and Organizational Support Perception Affecting Employee’s Organizational Citizenship: A case of Bridgestone Group Thailand. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 7 (2), 79-90.
Hair, J., Black, W., Babin, B., and Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). London: Pearson Education Limited.
Kim, H., Chen, Y., and Kong, H. (2020). Abusive supervision and organizational citizenship behavior: The mediating role of networking behavior. Sustainability, 12 (1), 288.
Organ, D. W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome. Massa-chusetts: Lexington Books.
Peterson, E., and Plowman, E. G. (1993). Business organization and management. Homewood, IL: Irwin.
Podsakoff, P. M., MacKenzie, S. B., Paine, J. B., and Bachrach, D. G. (2000). Organizational citizenship behaviors: A critical review of the theoretical and empirical literature and suggestions for future research. Journal of Management, 26 (3), 513-563.
Thiruvenkadam, T., and Durairaj, I. Y. A. (2017). Organizational citizenship behavior: Its definitions and dimensions. GE-International Journal of Management Research, 5 (5), 46-55.
Zhu, Y. (2013). Individual behavior: In-role and extra-role. International Journal of Business Administration, 4 (1), 23-27.