ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

อนันตพร วงศ์คำ

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2) ศึกษาการบริหารจัดการที่มีอิทธิพลความเสี่ยงของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ (3) เสนอแนะปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนโดยใช้สูตรของ Cochran (1953) ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์องค์ประกอบสมการโครงสร้าง ตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์
                ผลการศึกษาพบว่า
                เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมผู้บริโภค การรักษาความปลอดภัยทางด้านข้อมูล ส่งอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถในการจัดการความเสี่ยง โดยการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ข้อมูล อุปกรณ์ เครือข่าย และบุคคลากร พบว่า โมเดลเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลพฤติกรรมผู้บริโภค ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ทัศนคติ คุณภาพของส่วนที่ติดต่อผู้ใช้ และการรับรู้ด้านความปลอดภัย พบว่าโมเดลพฤติกรรมผู้บริโภคมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การรักษาความลับของข้อมูล การรักษาความถูกต้องของข้อมูล และความพร้อมการใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
                โมเดลการรักษาความปลอดภัยทางด้านข้อมูล มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสามารถในการจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การสื่อสาร การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร ความไว้ใจ โครงสร้างองค์กร พบว่า ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
                นอกจากนี้ ยังพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการจัดการความเสี่ยงโดยส่งผ่านพฤติกรรมผู้บริโภคและการรักษาความปลอดภัย พฤติกรรมผู้บริโภคมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการจัดการความเสี่ยงโดยส่งผ่านการรักษาความปลอดภัย โมเดลสมการโครงสร้างความสามารถในการจัดการความเสี่ยง พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจัดการความเสี่ยง มากที่สุด คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมผู้บริโภค และการรักษาความปลอดภัยตามลำดับ


* อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 12150
Corresponding author: a.noon2524@hotmail.com

Article Details

How to Cite
วงศ์คำ อ. . (2021). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 270–283. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.21
บท
บทความวิจัย

References

จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2563). การบริหารองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (1), 240-253.
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา และอิงอร ตั้นพันธ์ (2559). ศึกษาวิจัยเรื่องตัวแบบการสร้างความได้เปรียบเชิงการ แข่งขันในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 8 (ฉบับพิเศษ). 425-431.
ณัฐธยาน์ ภัทรพิเศษวงศ์. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างของผลการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์และ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรบริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นันทพร ชเลจร. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความภักดีของลูกค้าธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์. วารสารสุทธิปริทัศน์. 33 (107). 193-205.
มณฐิณี ประเสริฐลาภ. (2558). การเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของผลการวัดแบบวัดเจตคติของลิเคอร์ท. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7 (2). 249-258.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชานิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร:พิมพ์ดีการ พิมพ์.
วันดี รัตนกาย. (2554). พฤติกรรมการซื้อสินค้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุค. วิทยานิพนธ์. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีรัตน์ ชดช้อย. (2560). อิทธิพลการกำกับของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อความภักดีของลูกค้า อย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ. ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558). “นวัตกรรม” นำ “รวย”. SMEs Today, 12 (102). 86-96.
Angela. V. Hausman Eid and Mustafa. I. (2011). Determinants of e-commerce Ccustomer Ssatisfaction, Trust, and Loyalty in Saudi Arabia. Journal of Electronic Commerce Research; Long Beach 12.(1) : 78-93.
Chatterjee S., Wiseman, R.M., Fiegenbaum, A. and Devers, C.E. (2003). Integrating Behavioural and Economic Concepts of Risk into Strategic Management: The Twain Shall Meet. Long Range Planning, 36: 61-79.
Chung Ki-Han and Shin Jae-Ik. (2010). The Antecedents and Consequents of Relationship Quality in Internet Shopping. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 22 (4), 473-491.
COSO. (2004,). Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission, Enterprise Risk Management-Integrated Framework, Retrieved May 20, 2019, from http://www.coso.org/erm-integratedframework.htm.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley and Sons. Inc.
Crockford, N. (1986). An Introduction to Risk Management. (2nd ed.) Woodhead-Faulkner, Cambridge.
Dkudiene and McCorkle. (2015). The Effect of Eshops’ Service Quality on Lithuanian Consumers’Purchase Intentions. International Journal of Business, Marketing, and Decision Science, 8 (1), 43-59.
Foxall, G. R., and Sigurdsson, V. (2013). Consumer Behavior Analysis: Behavioral Economics Meets the Marketplace. Psychological Record.
Gahin F.S. (1967). A Theory of Pure Risk Management in the Business Firm. The Journal of Risk and Insurance, 34 (1): 121-129.
Garatwa W. and Bollin, C. (2002). Disaster Risk Management: Working Concept. Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit (GTZ), Eschborn. Retrieved May 20, 2019, from http://www2.gtz.de/dokumente/bib/02-5001.pdf.
Henriksen, P. and Uhlenfeldt, T. (2006), Contemporary Enterprise-Wide Risk Management Frameworks: A Comparative Analysis in a Strategic Perspective, Andersen T.J. (ed.), Perspectives on Strategic Risk Management: 107-130. Denmark: Copenhagen Business School Press.
Petroni G., Venturini K. and Verbano C., (2012). Open Innovation and New Issues in R and D Organization and Personnel Management,.The International Journal of Human Resource Management, 23(1) : 147-173.
Kasai,P. and Boonsathorn, W. (2018). Factors Leading to Work Passion for Innovative Work Behavior: Case Study of Small Hotel Business in Thailand. Dusit Thani College Journal. 12 (1). 1-15.
The Vendran V.,; Mawdesley M.J., (2004). Perception of Human Risk Factors in Construction Projects: an Exploratory Analysis. International Journal of Project Management, 22, 131-137.
Verbano, C., and Venturini, K. (2013). Managing Risks in SMEs: A Literature Review and Research Agenda. Journal of Technology Management and Innovation, 8, 186-197. https://doi.org/10.4067/S0718-27242013000400017
Verbano C. and Venturini K. (2011). Development Paths of Risk Management: Approaches, Methods and Fields of Application. Journal of Risk Research, 14(5-6) : 519–550.
Verbano, C. and Turra, F. (2010). A Human Factors and Reliability Approach to Clinical Risk Management: Evidences from Italian Cases. Safety Science, 48(59): 625–39.
Wu, S.C., Cao, Z.H., Li, Z.G., Cheung, K.C. and Wong, M.H. (2005). Effects of Biofertilizer Containing N-fixer, P and K Solubilizers and AM Fungi on Maize Growth: a Greenhouse Trial. Geoderma, 125:155–166.