การพัฒนาการบริหารคุณภาพโดยรวม ของกองบริการ ศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์

Main Article Content

นุชจรี สินทอง

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) ของกองบริการ ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ (2) ศึกษาปัจจัยในการพัฒนาองค์การ 7 ประการ (7S) ของกองบริการ ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ และ (3) ศึกษาปัจจัยในการพัฒนาองค์การ 7 ประการ (7S) ที่ส่งผลต่อการพัฒนา การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) ของกองบริการ ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของกองบริการ ศูนย์การทหารราบ จำนวน 154 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. การพัฒนาการบริหารคุณภาพโดยรวม ของกองบริการ ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการให้ความสำคัญกับบุคลากรภายในและภายนอก ด้านการบริหารองค์การ ด้านการวัดและประเมินผลปฏิบัติงาน ด้านการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร ตามลำดับ
                2. ปัจจัยในการพัฒนาองค์การ 7 ประการ (7S) ของกองบริการ ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านกลยุทธ์ ด้านทักษะ ด้านรูปแบบ ด้านระบบ ด้านโครงสร้าง ด้านค่านิยมร่วม และด้านบุคลากร
                3. ปัจจัยในการพัฒนาองค์การ 7 ประการ (7S) ได้แก่ รูปแบบ และค่านิยมร่วมกัน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการบริหารคุณภาพโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนทักษะ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และโครงสร้าง และระบบ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมการการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ คือ
                 Ŷ = 0.296* + 0.070x1+ 0.115 x2 *+ 0.135 x3 *+ 0.165 x5 **+ 0.192 x6 **+ 0.185 x7 **


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 76120 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ
Corresponding author: nutjaree_namfon@hotmail.com

Article Details

How to Cite
สินทอง น. . (2021). การพัฒนาการบริหารคุณภาพโดยรวม ของกองบริการ ศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 187–197. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.15
บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2550). การจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชัน.

ทิพย์วรรณ จูมแพง, กุหลาบ รัตนสจธรรม และวัลลภ ใจดี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามการรับรู้ของบุคลากรในหน่วยงานระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 7(2), 38-52.

พงศ์เพชร ดามาพงศ์. (2552). การบริหารคุณภาพโดยรวมกับการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท AIS. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์. (2561). ประวัติ.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, จาก http://infantry-center.rta.mi.th/home/

Bartol K.M. and Martin D.C. (1991). Management. New York: McGraw – Hill.

Gilbert, G. (1992). Quality Improvement in a Defense Organization. Public Productivity and Management Review, 16 (1), 65-75.

Green, S.B. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research, 26 (3), 499-510.

McKinsey, R.A. (1972). The Time Trap. New York: Amacom.