โอกาสในการล้มเหลวทางการเงิน กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยที่ถูกเพิกถอน

Main Article Content

เปรมารัช วิลาลัย

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีเป้าหมาย เพื่อศึกษาโอกาสในความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนที่ถูกเพิกถอน ตัวอย่าง คือ บริษัทที่เพิกถอนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2518 – 2563 รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานทางการเงินจำนวน 37 บริษัทจากประชากร 261 บริษัท ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์และคำนวณตามแบบจำลองของ Zmijewski ใช้อัตราส่วนทางการเงินคำนวณในแบบจำลองทั้งหมด 3 อัตราส่วนใช้พิจารณาความน่าจะเป็นของการเกิดความล้มเหลวทางการเงินล่วงหน้า ค่าตัวแปรของการวิเคราะห์ Zmijewski Model ที่คำนวณได้ของแต่ละบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมาจำแนกเป็น กลุ่มที่มีโอกาสเกิดความล้มเหลวทางการเงิน และกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเกิดความล้มเหลวทางการเงิน
                ผลการวิจัยพบว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถูกเพิกถอน มีบริษัทในกลุ่มที่มีโอกาสเกิดความล้มเหลวทางการเงิน จำนวน 7 บริษัท คือ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และบริษัทอยู่ในกลุ่มไม่มีโอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวทางการเงิน มีจำนวน 30 บริษัท จะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเกิดความล้มเหลวทางการเงิน


* อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 10210
Corresponding author: a.premarat@gmail.com, premarat.vil@dpu.ac.th

Article Details

How to Cite
วิลาลัย เ. . (2021). โอกาสในการล้มเหลวทางการเงิน กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยที่ถูกเพิกถอน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 162–173. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.13
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์. (2555). ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2555. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2563. จาก https://www.set.or.th/dat/content/rule/th/7(Bor.Jor-Phor01-00)Eff01042562TH.pdf.

ณัฐวุฒิ คูวัฒนเธียรชัย. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ของอันดับความน่าเชื่อถือกับโอกาสประสบภาวะตกต่ำทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: SEC Working Papers Forum ครั้งที่ 3/2557 วันที่ 17 กันยายน 2557 - 17 กรกฎาคม 2557.

ไพรินทร์ ชลไพศาล. (2557). สัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจ กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563. จาก http://libdoc.dpu.ac.th/research/153536.pdf

ศรสวรรค์ บัวนาค. (2559). การพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Altman. E.I. (1968). Financial ratio, discriminant analysis and the prediction of corporate bankruptcy. The Journal of Finance, 4(13), 589-609.

Beaver. W.H. (1966). Financial ratios as predictors of failure. Journal of Accounting Research, (4), 71-111.

Husein, M.F. and Pambekri,G.T (2014). Precision of the models of Altman, Springate, Zmijewski, and Grover for predicting the financial distress. Journal of Economics, Business, and Accountancy Ventura, 17 (3), 405-416.

Jeroen O. A. (2013). Testing the generalizability of the bankruptcy prediction models of Altman, Ohlson and Zmijewski for Dutch listed and large non-listed firms. Master’s thesis. University of Twente, Management and Governance.

Ohlson.J.A. (1980). Financial ratios and the probabilistic prediction of bankruptcy. Journal of Accounting Research, 1 (8), 109-131.

Zmijewski, ME. (1984). Methodological Issues Related to the Estimation of Financial Distress Prediction Models, Journal of Accounting Research 22: 59-82.