แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อสร้างความภักดีในตราสินค้า ของผู้บริโภคชิ้นส่วนไก่ในภูมิภาคตะวันตก

Main Article Content

สุภาวรรณ สอนสวัสดิ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความภักดีในตราสินค้าชิ้นส่วนไก่ของผู้บริโภคเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการสร้างความภักดีในตราสินค้าชิ้นส่วนไก่ของผู้บริโภค และ (3) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อสร้างความภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภคชิ้นส่วนไก่ในภูมิภาคตะวันตก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้าประเภทเนื้อไก่ในเขตพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก จำนวน 400 คน ได้มาโดยการเลือกแบบโควตา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการทดสอบ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียวการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารและผู้บริโภค จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
                1. ความภักดีในตราสินค้าของธุรกิจจำหน่ายชิ้นส่วนไก่ในภูมิภาคตะวันตก เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้าน อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้
                2. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเพื่อสร้างความภักดีในตราสินค้าของธุรกิจจำหน่ายชิ้นส่วนไก่ในภูมิภาคตะวันตก เกิดจากการส่งเสริมการตลาด (b = 0.23) การจัดจำหน่าย (b = 0.20) ผลิตภัณฑ์ (b = 0.18) และราคา (b = 0.14) ตามลำดับ สมการมีอำนาจพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 81 สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ Y = 0.84 +0.18 X1**+0.14 X2**+0.20 X3**+0.23 X4**
                3. แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อสร้างความภักดีในตราสินค้าของธุรกิจจำหน่ายชิ้นส่วนไก่ ประกอบด้วย (1) ด้านผลิตภัณฑ์เน้นการสร้างคุณภาพสินค้า การรักษาคุณภาพสินค้า การวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน (2) ด้านราคา ผู้บริหารควรให้ความสำคัญเรื่องการตั้งราคาตามต้นทุน กำลังซื้อของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเศรษฐกิจ และคู่แข่งในตลาด (3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้บริหารควรเน้นการเข้าถึงลูกค้าโดยเลือกตำแหน่งที่ตั้งในแหล่งชุมชน การขยายสาขาให้พอเพียงต่อความต้องการ การเพิ่มช่องทางในการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ และ (4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ควรเน้นการส่งเสริมการขาย การลดราคาสินค้าชนิดใหม่ การให้ส่วนลดเมื่อซื้อครั้งต่อไป


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000 ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author: supawan2532@gmail.com

Article Details

How to Cite
สอนสวัสดิ์ ส. . (2021). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อสร้างความภักดีในตราสินค้า ของผู้บริโภคชิ้นส่วนไก่ในภูมิภาคตะวันตก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 136–150. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.11
บท
บทความวิจัย

References

เขมกร เข็มน้อย. (2554) ภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสินในสังกัดเขตสมุทรสาคร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรพงษ์ เที่ยงสมพงษ์. (2551). โมเดลเชิงสาเหตุของความจงรักภักดีต่อการใช้การบริการสถานีบริการน้ำมันของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีรัตน์ ปณิศา มีจินดา อรทัย เลิศวรรณวิทย์ ปริญ ลักษิตานนท์ องอาจ ปทะวานิช และจิระวัฒน์ อนุชชานนท์. (2552). การบริหารการตลาดใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2562 จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business
สุชานันท์ อนุกูล.(2548). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อไก่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2550). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพล ชูสนุก และจิดาภา รัตนชัยบรรดาล. (2556). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าที่รับรู้ ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของผู้บริโภคอาหารสำเร็จรูป CP Fresh Mart ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์.30 (2). 133-154.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Aaker, D. A. (2004). Building strong brands. New York: Free.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. Oxford, England: John Wiley.
Homjitr, S. (2015). Factors affecting brand loyalty of essence of chicken brand towards consumers in Bangkok. Master of Business Administration International College. University of the Thai Chamber of Commerce
Kim, M.K., Parkb, M.C. and Jeonga, D.-H. (2004). The effects of customer satisfaction and switching barrier on customer loyalty in Korean mobile telecommunication services. Telecommunications Policy, 28 (2), 145-159.
Kim, J., Morris, J. D., & Swait, J. (2008). Antecedents of true brand loyalty. Journal of Advertising, 37(2), 99-117
Koter, P. (2003). Marketing management (11th ed.). New jersey: Pearson Education.