ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดราชบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร และ (3) แนวทาง การส่งเสริมตลาดในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 365 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้จัดการเขต จำนวน 4 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการใช้บริการผ่านบัตรสินเชื่อเกษตรกร มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลทุกด้าน
2. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ด้านการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรต่อปี ประกอบไปด้วย ราคา (b=1.82) และช่องทางการจัดจำหน่าย (b = 1.75) สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 36 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้ Y = 1.01+0.48 X1 +1.82 X2** +1.75 X3 **+0.12 X4 + 0.29 X5 +0.36 X6+ 0.19 X7
3. แนวทางการส่งเสริมตลาดในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ต้องเน้นความชัดเจนจากนโยบายของธนาคาร ใช้ปัจจัยด้านราคา และการส่งเสริมการตลาดในการจูงใจลูกค้า เพิ่มช่องทางการใช้บัตรสินเชื่อให้มากขึ้น เน้นการนำบัตรไปใช้ได้ทุกที่ ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000 ภายใต้การควบคุมของ อาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา
Corresponding author: sukuma2727@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
วัชพล เหล่าพล และชัญญา อภิปาลกุล. (2560). การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (1).121-139.
วันดี รัตนกาย. (2554). พฤติกรรมการซื้อสินค้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมศักดิ์ ทะรารัมย์ สุริยา รักการศิลป์ และปรีชา ปาโนรัมย์. (2559).การศึกษาพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากนโยบายบัตรสินเชื่อเกษตรกร อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 5 (1).16-22.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Amin, H. (2013). Factors influencing Malaysian bank customers to choose Islamic credit cards: Empirical evidence from the TRA model, Journal of Islamic Marketing, 4 (3). 245-263. https://doi.org/10.1108/JIMA-02-2012-0013
Kotler, P. (2009). Marketing management: Analysis, planning implementation and control. (12th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Schiffman, L. G. and Kanuk, L.L. (2007). Consumer Behavior. (9th ed), Prentice-Hall, Upper Saddle River.