ภาวะผู้นำของครูและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูในระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

ผกามาศ บัวพงษ์
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับภาวะผู้นำของครูและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู โดยเก็บตัวอย่างจากครูมัธยมศึกษา จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
                ผลการศึกษาพบว่า ระดับภาวะผู้นำของครูที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อผลการปฏิบัติงานทั้งสามด้าน คือ ภาวะผู้นำครูด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการจัดโปรแกรมการเรียนการสอน และ ด้านการเป็นแบบอย่างการเรียนการสอน มีอิทธิพลมากที่สุดต่อผลการปฏิบัติงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 58.00 ส่วนสภาพแวดล้อมในการทำงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย คุณลักษณะเฉพาะงาน ด้านความมั่นคงปลอดภัย และด้านการนิเทศงานมีอิทธิพลมากที่สุดต่อผลการปฏิบัติงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 46.20


* บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12110
** อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12110
Corresponding author: pakamas_b@mail.rmutt.ac.th

Article Details

How to Cite
บัวพงษ์ ผ. ., & เชียรวัฒนสุข ก. . (2021). ภาวะผู้นำของครูและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูในระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 50–62. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.27
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพัฒน์ คำแพง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของครูกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทศพร มนตรีวงษ์ และ ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2559) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28 (2), 10-22.
ทิพวรรณ เอี่ยมวงษา. (2559) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความคิดเห็นต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัท แอลซีบี คอร์ปอเรชั่น จำกัด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เทพรังสรรค์ จันทรังษี. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นิสาลักษณ์ จันทร์อร่าม และ กาญจน์ เรืองมนตรี (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 184-193.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวพร โปรยานนท์. (2554). พฤติกรรมของผู้นำและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ ในงานของบุคลากร: กรณีศึกษาองค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อัลดา ทองรอด (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น เอเชีย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 3 (2), 72-82.
Burger, J., & Hallinger, P. (2007). Teacher leadership: Improving teaching and learning from inside the classroom. California: Corwin Press
Gilmer, V.B. (1973). Applied Psychology. New York: Mc Graw-Hill.
Peterson, E. and Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). NY: Richard D. Irwin Inc.