ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ก้องเกียรติ กำศิริพิมาน

บทคัดย่อ

                ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในจังหวัดสมุทรปราการ และ (2) เพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในสมุทรปราการมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 48 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วย
ผู้บริหารท้องถิ่น 12 คน ผู้ออกใบอนุญาต 12 คน (ปฏิบัติ) ผู้รับใบอนุญาต (ประชาชน) 24 คน ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกเก็บข้อมูลที่ได้โดยการพรรณนา
                ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติงานด้านกฎหมายควบคุมอาคารที่ผ่านมา กำหนดไว้เป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การยื่นขอรับใบอนุญาต การตรวจสอบแนวเขต สถานที่ขอรับใบอนุญาต การรับใบอนุญาต และการตรวจสถานที่ขณะดำเนินการหลังรับใบอนุญาต ซึ่งในขณะเดียวกันขั้นตอนดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรค เช่น ผู้รับการบริการส่วนใหญ่ ไม่ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร ไม่เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร รวมทั้ง เอกสารและหลักฐานที่ใช้ มีมากยากต่อการเข้าใจ และพบว่า นายตรวจ นายช่าง ผู้ตรวจแบบ เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้ในตัวบทกฎหมาย ประกอบกับมีการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบแนวเขต สถานที่ขอรับใบอนุญาต ก่อนและหลังรับใบอนุญาต
                 2. การแก้ไขและปรับปรุง เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานด้านกฎหมายควบ คุมอาคาร โดยประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านกฎหมายควบคุมอาคารให้มากขึ้น เพิ่มการมีส่วนร่วมของ ผู้นำระดับหมู่บ้าน ผู้นำระดับชุมชน ในการเฝ้าสอดส่องไม่ให้มี ผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำผิด และจัดให้มีเจ้าหน้าที่ เพียงพอในการออกตรวจเขต ส่งเสริมให้ได้รับการฝึกอบรม ประชุม หรือสัมมนาเกี่ยว กับกฎหมายควบคุมอาคารให้กับผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง


* นักศึกษาหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 10170.
ดุษฎีนิพนธ์ภายใต้การดูแลของรองศาสตราจารย์ ดร.สถิตย์ นิยมญาติ
Corresponding author: Toss629@gmail.com

Article Details

How to Cite
กำศิริพิมาน ก. . . (2021). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในจังหวัดสมุทรปราการ . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 14–25. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.2
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). รายงานการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้าประจำปี 2554. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

พุฒิกัณฐก์ มนต์เลี้ยง. (2550). ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประพันธ์พงษ ์ชินพงษ์. (2551). โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนและการสำรวจสภาพปัญหา ความมั่นคงในมิติความเห็นของประชาชน. ปทุมธานี : คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

มนตรี บัวมาก. (2557). ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการอาคารสูงตามกฎหมายควบคุมอาคาร. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรกิจบัณฑิตย์.

วรัท พฤกษากุลนันท์. (2550). การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2558,จาก http://www.kroobannok.com/133.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นติธรรม.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญ พาณิชย์.

เสริชย์ โชติพานิช. (2550). เอกสารประกอบการสอนวิชา Facility Management. กรุงเทพมหานคร:

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ งามสะอาด. (2552). ทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สุรินทร์รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท.