การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากร สำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคคล และ2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การบริหารจัดการองค์การที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F – test ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
                1. การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในเรื่องระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
                2. ความสัมพันธ์การบริหารจัดการองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงาน พบว่า การบริหารจัดการองค์การในด้านลักษณะของหน่วยงาน ( r = . 943) และคุณภาพชีวิตการทำงานในด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย (r = .856) มีความสัมพันธ์ในระดับสูงต่อมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร (R2=0.84, R2Adjusted=0.83, Sr2=5.34, F=28.52, p<0.001)
                3. ข้อค้นพบที่น่าสนใจ โดยสรุปว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยเฉพาะในประเด็นความเป็นประโยชน์ต่อสังคมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยการปรับปรุงการบริหารค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรมเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ประสบการณ์ ความสามารถ และภาระหน้าที่งาน นอกจากนั้นควรเพิ่มสวัสดิการช่วยเหลือในด้านอื่นๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงาน และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน ให้รู้สึกถึงการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานครต่อไป


* อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 12150
Corresponding author: dawrungrata.wo@western.ac.th

Article Details

How to Cite
วงษ์ไกร ด. . (2020). การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากร สำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 257–269. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.44
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา สว่างคง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์การที่มีผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานผ่านความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์การ ของพนักงานบริษัทนําเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 14(1). 91-103.

จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2563). การบริหารองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5 (1), 240-253.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์การ ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการใอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4 (3): 14-26.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6 (1), 486-498.

พิชญา แก้วสระแสน และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11 (2). 1042-1057

วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (2).203-210.

สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย. (2561). คุณลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์การผ่านผลการปฏิบัติงาน ในบทบาทการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างาน และการรับรู้การสนับสนุน จากองค์การของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทัย เลาหวิเชียร.(2542). รัฐประศาสนศาสตร์ ; ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Agranoff, R., and McGuire, M. (2003).Collaborative public management : New strategies for local governments. Washington, D.C.: Georgetown University Press.

Certo, Samuel C. and Certo, Trevis S. (2009). Modern Management : Concepts and Skills (11th ed). New Jersy: Prentice – Hall.

Jackson, S.E., Schuler, R.S., and Werner, S.(2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Pender, J. N. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. (3th ed.). USA: Appleton and Lange.

Osborne, S.P. (2010). The new public governance : Emerging perspectives on the theory and practice of public governance. New York : Rout ledge.

Robbins, Stephen P. (1990). Organization Theory : Structure Design and Application. (3 rd ed.). New Jersey : Prentice-Hall.

Simon, Herbert. (1996). A Public Administration. New York: Alfreod A Kuopf.

Vangen, S., and Huxham, G. (2010). Managing to collaborate. New York :Routledge.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it? Slone Management Review, 15, 11-21.