การบริหารจัดการการค้าข้างทางตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันในการบริหารจัดการการค้าข้างทางของกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษานโยบายการบริหารจัดการการค้าข้างทางของกรุงเทพมหานคร และ3) เพื่อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคการแก้ไขสถานการณ์การประกอบอาชีพของผู้ค้าข้างทาง พร้อมทั้งนโยบายหรือมาตรการในการบริหารจัดการการค้าข้างทางของกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวคำถามในการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ อ่านผล ตีความ และหาข้อสรุป โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้เปิดเผยแทนข้อเท็จจริง ดังที่ระบุข้างล่างนี้
                1. จากสภาพปัญหาปัจจุบันในการบริหารจัดการการค้าข้างทางของกรุงเทพมหานคร สภาพทางสังคมเศรษฐกิจกิจเป็นบทสะท้อนถึงวิถีชีวิตการซื้อขายข้างทางสินค้าในรูปแบบดั้งเดิมสินค้าที่ขายแสดงออกทางวัฒนธรรม และวิถีสังคมเมืองของเศรษฐกิจนอกระบบเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการกระจายไปในแหล่งชุมชนสู่อาชีพการค้าข้างทางในปัจจุบัน
                2. ในเรื่องนโยบายการบริหารจัดการการค้าข้างทางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนโยบายแผนปฏิบัติงานพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ที่มีความชัดเจนครอบคลุมต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แต่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ ซึ่งยังไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้จากหลายปัจจัย
                3. โดยอิงสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้
                   3.1) กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านการพัฒนาอาชีพของผู้ค้าการค้าข้างทางเช่น การให้กู้ยืมลงทุน การส่งเสริมอาชีพอื่นที่มีรายได้ และความมั่นคงมากกว่าเพื่อที่จะลดจำนวนผู้ค้าข้างทางอย่างถาวร
                   3.2) ใช้วิธีการควบคุมทั้งในแง่ของจำนวนผู้ค้าและการควบคุมพื้นที่ที่อนุญาตให้ทำการค้า รวมทั้งเร่งส่งเสริมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสุขลักษณะในบริเวณพื้นที่ที่อนุญาตให้มีการค้า
                   3.3) การประสานงานร่วมมือจากผู้ค้าและประชาชนจัดให้มีการประชุมผู้ค้าเพื่อให้ความรู้และปรับทัศคติของผู้ค้า เพื่อให้การนำนโยบายไปปฏิบัติเกิดผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจ
                   3.4) การแก้ไขปัญหาที่สาเหตุความยากจน และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาให้แก่ประชาชน และพื้นที่ในชนบท ทั้งในระดับมหภาค และจุลภาค ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาการค้าข้างทางได้อย่างถาวรต่อไป


* อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 12150
Corresponding author : pa.phatsorn@hotmail.com

Article Details

How to Cite
วรภัทร์ถิระกุล พ. . (2020). การบริหารจัดการการค้าข้างทางตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 244–256. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.43
บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์กฤษณ์ ฤกษ์สิริพัฒน์ .(2558). การเข้าสู่การค้าหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร, สำนักผังเมือง, กองนโยบายและแผนงาน. (2555). รายงานการศึกษาเรื่อง หาบเร่-แผงลอยในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
นฤมล นิราทร (2560). การบริหารจัดการการค้าข้างทาง (Street Vending) ในประเทศไทย : สถานการณ์และทิศทางนโยบายที่ควรจะเป็น. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤมล นิราทร. (2557). การจัดการการค้าหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร: ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 33(2), 47-72.
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา, 109 (15), 28-42.
วรากุล อุดมประมวล. (2558). ประสิทธิภาพในการนำนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอยไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรเดช จันทรศร. (2547). ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สหายบล็อกและการพิมพ์.
สุจิตรา สามัคคีธรรม (2561). พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหาบเร่แผงลอย: กรณีศึกษาเขตบางเขน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 157-176.
อุทัย เลาหวิเชียร.(2543). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Bhowmik, S. (2013). The Urban Informal Economy: Making Policies Work.
Bromley, R. (2000). Street Vending and Public Policy. International Journal of Sociology and Social Policy 20(1/2): 1-28.
Ball, J. (2002). Street Vending : A survey of Ideas and Lessons for Planners. Chicago, Illinois: American Planning Association.
Cross, J. (2000). Street Vendors, Modernity and Post-Modernity : Conflict and Compromise in the Global Economy. International Journal of Sociology and Social Policy, 20(1/2), 30-52.
Carpenter, D.M. (2015). Upwardly Mobile : Street Vending and the American Dream. Arlington, Virginia : Institute for Justice.
Dimas, H. (2007). Street Vendors : Urban Problem and Economic Potential. Working Paper in Economics and Development Studies, Center for Economics and Development Studies, Department of Economics, Padjadjaran University, Bandung, Indonesia.
David, S.; Ulrich, O.; Zelezeck, S. and Majoe, N. (2014). Managing Informality : Local government practices and approaches towards the informal economy – Learning examples from five African countries. Pretoria, South Africa : South African Local Government Association (SALGA).
Graaf, C. and Ha, N. (2015). Street Vending in the Neoliberal City: A Global Perspective on the Practices and Policies of a Marginalized Economy. New York : Berghahn.
Maneepong, C., and Walsh, J. (2013). A new generation of Bangkok street vendors: Economic crisis as opportunity and threat. Cities, 34(10), 37-43.
Pressman, J. L., and Wildavsky, A. (1973).Implementation. Thousand Oaks,CA: University of California Press.
Walsh, J. (2010). Street Vendors and the Dynamics of the Informal Economy: Evidence from Vung Tau, Vietnam, Asian Social Science. 6 (11). 159 165.
Van Meter, D. S. and Van Horn, C. E. (1975).The policy implement ationprocess: A conceptual framework. Administration and Society, 4, 25-30.