ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

แพรวพรรณ ตรีชั้น และคณะ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จำนวน 560 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการประเมินค่าความตรงด้านเนื้อหาและค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการศึกษาพบว่า
                1. ผลการวิจัยปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงานอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านเวลาอยู่ในระดับมาก
                2. ผลการเปรียบเทียบเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า
พนักงานที่มีเพศต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ทั้งภาพรวมและรายด้าน และพนักงาน
ที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
                3. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยด้านที่มี
ความสัมพันธ์สูงสุด คือ ปัจจัยแวดล้อมภายในด้านระบบการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านคุณภาพงาน (r=0.74**)


* อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
** ดร.จุฑามาส ศรีชมภู สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
อาจารย์พัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
อาจารย์ภาวนา บำรุงสุข สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
อาจารย์พิชามญชุ์ เลิศวัฒนพรชัย สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
นางสาวภาวนา วิชาไพบูลย์ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม 73000
นางสาวกรกนก ทรายงาม นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Corresponding author: jsrichompu@gmail.com

Article Details

How to Cite
ตรีชั้น และคณะ แ. . (2020). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 230–243. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.42
บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา ฐิติคุณรัตน. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทซันไชน์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
ชลดา อักษรศิริวิทยา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเดินรถ องค์กรขนสส่งมวลชนกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์กร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ไทยเนรมิต กิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ณัชพล งามธรรมชาติ. (2558). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบตัิงานของพนกังาน สายการผลิต บริษัท XYZ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนากร เกื้อฐิติพร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายในองค์กรกับผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
มัลลิกา ต้นสอน. (2554). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
มุกดาวรณ์ สมจันทร์มะวงค์. (25618). การประเมินประสิทธิภาพองค์กร โดยใช้เทคนิคการบริหารแบบสมดุล กรณี ศึกษา สถานีรถไฟ ท่านาแล้ง ส ป ป ลาว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(1), 79-90. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2018.7
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: ธีรฟิล์ม และไซเท็กซ์.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM. สารนิพนธ์หลักสูตรพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมยศ แย้มเผื่อน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานปฏิบัติการ บริษัท เอเชียนมารีน เซอร์วิสส์ จํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุมิตร สุวรรณ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558, ตุลาคม-ธันวาคม). รวมพลังขับเคลื่อน “ครัวไทย…สู่โลก” (Kitchen of the World) เพื่อเพิ่มความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 52(4), 10-16.
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2561). แผนพัฒนาจังนครปฐม 4 ปี พ.ศ. 2561-2564. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.oic.go.th/fileweb/cabinfocenter1/drawer022/general/data0001/00001321.pdf
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (90-95). New York: Wiley & Son.
Noe, R. A., Hollenbeck, J. R., Gerhart, B., & Wright, P. M. (2015). Human resource Management. (9th ed.). New York, NY : McGraw-Hill Education.
Peterson, E., & Plowman, G.E. (1953). Business organizational and management. Illinois: Irwin.