การรู้เท่าทันสื่อ ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

มาริษา สุจิตวนิช
เยาวภา บัวเวช

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ประโยชน์ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา และ 2. การนำไปใช้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา ประชากรของการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่เรียนเกี่ยวกับ “การรู้เท่าทันสื่อ” จำนวน 86 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่สร้างและพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
                1. ประโยชน์ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) นักศึกษาเห็นความสำคัญของคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม ที่บุคคลพึงมีทั้งต่อตนเอง ชุมชน และสังคม 2) นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อต้องมีและ 3) นักศึกษาสามารถเลือกรับข่าวสารหรือเนื้อหาต่าง ๆ จากสื่อที่ดีที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อตัวนักศึกษาเองได้
                2. การนำไปใช้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) นักศึกษาจะผลิตเนื้อหาข่าวสารและสื่อ โดยมีการวิเคราะห์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดวัตถุประสงค์ และกลวิธีในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม 2) นักศึกษาจะแสวงหาเนื้อหาข่าวสารที่นักศึกษาต้องการจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ และคัดเลือกข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง และจัดการได้อย่างเป็นระบบ และ 3) นักศึกษาจะผลิตสื่อ โดยเลือกใช้สัญลักษณ์ เทคนิคทางด้านภาพและเสียงต่าง ๆ เพื่อสร้างความหมาย สื่ออารมณ์ และความงามทางศิลปะ


*,** อาจารย์ ดร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
***งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Corresponding author: Voon58@hotmail.com

Article Details

How to Cite
สุจิตวนิช ม. ., & บัวเวช เ. . (2020). การรู้เท่าทันสื่อ ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 216–229. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.41
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เอดิสันเพรส โปรดักส์จำกัด.
โครงการวัยมันส์เท่าทันสื่อ. (2552). วัยมันส์ เท่าทันสื่อ. คู่มือจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร : ปิ่นโตพับลิชชิ่ง.
จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2550). ผลการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ปริญญานิพนธ์ สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โตมร อภิวันทนากร. (2552). คิดอ่าน ปฏิบัติการเท่าทันสื่อ คู่มือสำหรับจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้ทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร : แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
อนงค์นาฎ รัศนมีเวียงชัย. (2555). โครงการวิจัยเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนชุมชนประชาธิปไตยวิทยาคาร. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสามารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์] ค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 จาก dog.qa.tu.ac.th/documente/7.jc/jc/ปีการศึกษา%202555/องค์ประกอบที่%205/สมศ.8/สมศ.8-9%20รายงานโครงการวิจัย%20การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา%20.pdf.
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2549). ‘เปิดม่านการรู้เท่าทันสื่อ’ ในอมรรัตน์ ทิพย์เลิศ เปิดประตูสู่การรู้เท่าทันสื่อแนวคิดทฤษฎีและประสบการณ์การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี : โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ (สสส.)
Considine, D., Horton, J. & Moorman, G. (2009). Teaching and Reading the Millennial Generation Through Media Literacy. Journal of Adolescent & Adult Literacy, 52 (6), 471-481.
Potter, W. J. (2004). Theory of media literacy: A Cognitive approach, California USA: Sage Publications.
Potter, W. J. (2014). Media Literacy. (7th ed.). London : Sage Publications.
Silverblatt, A. & Eliceiri, E. M. E. (1997). Dictionary of Media Literacy. Greenwood.
Thoman, E. & Jolls, T. (2003). Literacy For the 21st Century: An Overview & Orientation Guide To Media Literacy Education, Retrieved August 6, 2019, from http://www.medialit.org/sites/default/files/01_MLKorientation.pdf.