ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน

Main Article Content

วิชา อินทร์จันทร์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาปัจจุบันของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน 2) เพื่อออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน 3) เพื่อทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
                กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด จำนวน 8 คน ประธานกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับอำเภอ จำนวน 10 คน ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (C) และระดับควรปรับปรุง(D) จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (2) กลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มีผลการประเมินศักยภาพกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับปานกลาง (C) และระดับควรปรับปรุง(D) ในเขตจังหวัดราชบุรี 3 กองทุน จำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง
                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามลักษณะตรวจสอบรายการเพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคระกรรมการกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึง แบบทดสอบเพื่อประเมินตนเองก่อนและหลังฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เครื่องมือมีการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือทั้งความตรง และความเที่ยง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการศึกษาพบว่า
                1) สภาพปัญหาปัจจุบันของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำ เกิดจากสาเหตุดังนี้ (1) คณะกรรมการขาดการเรียนรู้อย่างจริงจังจากเอกสารคู่มือปฏิบัติงานที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดไว้ (2) กรรมการที่ได้รับการอบรมจากหน่วยราชการและภาคีที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับความรู้จริงและขาดทักษะการถ่ายทอดต่อ (3) กรรมการขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และ (4) กรรมการไม่เห็นความสำคัญของระบบงานทะเบียน และการจัดเก็บเอกสาร
                2) การออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีแนวทางสร้างรูปแบบประกอบด้วยหน่วยระบบทำงานหรือหน่วยการเรียนรู้ ทั้งหมด 5 หน่วยระบบ คือ 1) การศึกษาดูงานกองทุนหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ 2) ให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) ให้ความรู้หลักวิชาว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 4) กระบวนการหลังจากการศึกษาดูงานและเรียนรู้หลักวิชา และ 5) การวัดและประเมินผล
                 3) การทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมตามหน่วยระบบของยุทธศาสตร์ฯ มีความรู้ความเข้าใจของตนเองหลังอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อยุทธศาสตร์ฯ และคู่มือการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ
                 4) การประเมินผลและปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำ คือ ปานกลาง (C) และควรปรับปรุง (D) เมื่อได้รับการพัฒนาตามวิธีการในหน่วยระบบ 5 หน่วย และอนุระบบ 14 หน่วย สามารถนำความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจที่ได้รับจากการอบรมตามยุทธศาสตร์ฯไปใช้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการมากขึ้นสามารถปฏิบัติได้ดีและยกระดับผลการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านขึ้นจากระดับปานกลาง (C) เป็นระดับดีมาก (A) จำนวน 1 กองทุน กองทุนหมู่บ้านจากระดับควรปรับปรุง (D) เป็นระดับดี (B) จำนวน 2 กองทุน จึงสรุปว่ายุทธศาสตร์นี้สามารถแก้ปัญหาที่พบได้จริงจึงไม่ต้องปรับปรุงยุทธศาสตร์


* นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.76000 ดุษฎีนิพนธ์ภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์ ดร.เฉลียว บุรีภักดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบกุล วิศิษฎ์สรศักดิ์
Corresponding author : Wichainjan@gmail.com

Article Details

How to Cite
อินทร์จันทร์ ว. . . (2020). ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 150–170. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.37
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา. (2550). ชุดการศึกษาค้นคว้า 2542102 เทคนิควิธีในการวิจัยและพัฒนา. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
คนึงภรณ์ วงเวียน. (2554). การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จิรายุ หาญตระกูล. (2559). การพัฒนาระบบเตือนภัยทางการเงินเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมีประสิทธิผล. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เจมส์ แมคกราท และบอพ เบทส์,(2560 ). 89 กลยุทธ์ที่องค์กรระดับโลกใช้สร้างองค์กรและบริหารคน.(แปลจาก The Little Book Of Big Management Theories โดย วิชิตา สุนทรพิพิธ). กรุงเทพมหานคร : บริษัท กู๊กเฮด พริ้นติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.
เฉลียว บุรีภักดี. (2546). หลักการพัฒนาและการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา. เพชรบุรี : สถาบันราชภัฎเพชรบุรี.
เฉลียว บุรีภักดี. (2550). ทฤษฎีระบบ. เอกสารประกอบการเรียนการสอน. สุรินทร์ : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์ .(2550). การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกับความยั่งยืนในอนาคต. เอกสารประกอบงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย. วันที่ 27 เมษายน 2550.
ถาวร กุลโชติ. (2546). ประสิทธิผลการจัดระบบและการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษาอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. งานวิจัยปัญหาพิเศษ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไทยรัฐทีวี. (2558). จัดเกรดกองทุนหมู่บ้าน รายการ ชัด ข่าว เน้น. วันที่ 2 กันยายน 2558.
ทองดี มิ่งขวัญ. (2551). ผลของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2556). การจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.
ยุวดี ไชยเศรษฐ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานในกองทุนหมู่บ้านสถาบันการจัดการเงินทุน กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 4 ตำบลปากจั่น อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วรวิทย์ เกิดสวัสดิ์. (2552). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศักดิ์ชัย อัศวินอานันท์.(2560). คู่มือการสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด.
ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2558). กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ศิริมล คัมภีร์พันธุ์. (2556). โปรแกรมการฝึกอบรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (2555). ศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2559 จาก http://www.villagefund.or.th/
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน. (2560) : คู่มือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. สำนักงานอัยการสูงสุด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุชน อินทเสม. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : กรณีศึกษาตำบลปากน้ำปราณ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์ การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุริยกาล ชุมแสง. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบขีดความสามารถเชิงแข่งขันห่วงโซ่อุปทาน ระหว่างตลาดนํ้าวัดลำพญาและตลาดบางหลวง ร.ศ.122. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Bandura, A. (1977). Self – efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review. 84 : 191 – 215.