แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

นภาพร หัสไทรทอง

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ด้านโครงสร้างที่เหมาะสม ด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ ด้านการทำงานเป็นทีมและระบบเครือข่าย ด้านการสร้างและถ่ายโอนความรู้ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ 3) หาแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ข้อมูลจัดเก็บจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 245 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณวิธีการนำตัวแปรเข้าทั้งหมด และการวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่ม ผู้อำนวยการสำนักของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ยินดีให้ความร่วมมือ จำนวน 10 คน โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า
           1. เปรียบเทียบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเปรียบเทียบความแตกต่างเพศอายุสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงานและสายการปฏิบัติงานในภาพรวมพบว่ามีการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเปรียบเทียบความแตกต่างตามระดับการศึกษาในภาพรวมพบว่ามีการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                 2. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พบว่าเกิดจากการสร้างและถ่ายโอนความรู้ (b=0.36) โครงสร้างที่เหมาะสม (b=0.19) การทำงานเป็นทีมและระบบเครือข่าย (b=0.17) ตามลำดับ สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 81 โดยสามารถนำเสนอเป็นสมการได้ดังนี้
                       Y = 1.01 + 0.19**(X1) + 0.04(X2) + 0.17**(X3) + 0.36**(X4).
             3. แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คือผู้บริหารควรให้ความสำคัญ สนับสนุน สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรตระหนักถึงการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ พัฒนาแนวคิดใหม่ๆ วางแผนพัฒนาองค์การ และติดตามผลอย่างต่อเนื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบุคลากร และถ่ายโอนองค์ความรู้ผ่านเครือข่ายสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้รองรับการพัฒนาเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และพัฒนาบุคลากร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากร สร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาบุคลากร ทำให้บุคลากรเกิดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด มีการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ทำให้เกิดกระบวนทัศน์ในการปฏิบัติงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีการรวบรวมองค์ความรู้ จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ


*วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author : somjintanarisongnern@gmail.com

Article Details

How to Cite
หัสไทรทอง น. . . (2020). แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 67–80. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.31
บท
บทความวิจัย

References

ดวงนภา เสมทับ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บุษยมาศ สิทธิพันธ์. (2559). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปราณี ตันประยูร. (2560). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 7 (2), 35-44.
รวมพร ทองรัศมี จารุวรรณ สกุลคู อรรณพ โพธิสุข และจตุพล ยงศร.(2557). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7 (1), 89-106.
รัชพล ศรีธรรม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 9 (3), 169-179.
วสันต์ สุทธาวาศ และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8 (1), 530-545.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มบริหารงานบุคคล.(2561). ตารางสรุปผลการวิเคราะห์กำลังคน. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561 จาก http://www.bga.moe.go.th/2018/wp-content/uploads/2018/03/ตารางสรุปผลการวิเคราะห์กำลังคน.
Best , J W., and James V. K. (1986). Research in Education. (5th ed.). New Jersey : Prentice Hall Inc.
Marquardt, M. and Reynolds, A. (1994). The global learning organization. New York: IRWIN.
Senge, P. (1990). The fifth discipline. The art & practice of the learning organization. London, UK: Random House.