ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ขวัญศิริ ดำคำ
รังสรรค์ อินทร์จันทน์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2) ศึกษาระดับการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ(3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนากับระดับการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ (4) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 256 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) ตัวแทนจากของคณะเภสัชศาสตร์ จำนวน 9 คน และ (2) ตัวแทนจากนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จำนวน 9 คน โดยใช้เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มย่อย
                 ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ (1.1) นโยบายของคณะ (1.2) เทคโนโลยี (1.3) แนวทางการดำเนินงานของผู้บริหารคณะ (1.4) ศักยภาพของนิสิต (1.5) ทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอน และ (1.6) ศักยภาพของบุคลากร (2) ระดับการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ (2.1) ด้านผลิตบัณฑิตฯ (2.2) ด้านวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ฯ (2.3) ด้านให้บริการชุมชนด้านสุขภาพ และ (2.4) ด้านส่งเสริมและทำนุบำรุง (3) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์กับการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) แนวทางการเสริมสร้างการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ ได้แก่ (4.1) นโยบายของคณะ ที่ชัดเจนและผลักดันให้การดำเนินงานในแต่ละด้านเป็นไปตามพันธกิจ (4.2) สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน (4.3) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในชีวิตของนิสิต โดยพัฒนาห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย และนำเทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติการทางการผลิตยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ (4.4) สนับสนุนงบประมาณให้นิสิตเพื่อทำกิจกรรมของส่วนรวม


* คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 44150
** อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 44001
Corresponding Author : rungsun_injun@hotmail.com

Article Details

How to Cite
ดำคำ ข. ., & อินทร์จันทน์ ร. . (2020). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 50–66. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.30
บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562 จาก http://pharmacy.msu.ac.th/home
ทิพย์วรรณ จูมแพง กุหลาบ รัตนสัจธรรม และวัลลภ ใจดี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามการรับรู้ของบุคลากรในหน่วยงานระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข. The Public Health Journal of Burapha University. 7 (2) ,38-52
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
เพ็ญพร ทองคำสุก. (2553). ตัวแบบสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรเดช จันทรศร (2551). ทฤษฏีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
วัชรินทร์ สุทธิศัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศุภชัย ยาวะประภาษ (2540). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Becker,S.W and Neuhauser, D. (1975). The Efficient Organization. New York: Elsevier Scientific Publishing Co.
Brewer, G. D. and Deleon, P. (1983). The Foundations of Policy Analysis. New York : The Dorsey Press.
Certo, S.C., and Peter, J.P. (1991). Strategic Management: Concept and Applications. New York : MacGraw-Hill.
French, Wendell L., and Cecill, H. Bell, Jr. (1990). Organizational Development: Behavioral Science Interventions for Organization Improvement. (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice- Hall.
Gibson, L. J., Ivancevich, J. M. and Donnelly, J. H. (1997). Organizations, Behavior Structure. Processes. (9th ed.). United States: The McGraw-Hill Companies.
Kast, F. E., and Rosenzweig, J. E. (1985). Organization and management. ( 4th ed.). New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.
Lipsky, M. (1980). Street-Level Bureaucracy: Dilemmas of the Individual in Public Services. New York: Rusell Sage Foundation.
Nakamura, Robert T. and Smallwood Frank. (1980). The Politics of Policy Implementation. New York: St.Martin’s Press.