นโยบายการบริหารพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

อัญชราภรณ์ เลาหรุ่งพิสิฐ

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษานโยบายการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย และ 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย การวิจัยนี้มีลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้สถิติพรรณนามาอธิบาย ผลการวิจัยพบว่า
                (1) จากการศึกษานโยบายการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทยพบว่า นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระดับสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่การพัฒนาคุณภาพของผู้สูงอายุในระดับอื่นๆ (ระดับชุมชน ระดับองค์การ ระดับระหว่างบุคคล และระดับบุคคล) อยู่ในระดับสูงมาก เกี่ยวกับความต้องการของผู้สูงอายุที่ผู้สูงอายุต้องการดังนี้ 1) ต้องการสถานที่เครื่องมือเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกต่างๆ 2) ต้องการสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้จากหน่วยงานของรัฐหรือชุมชน 3) ความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายและสันทนาการ
                (2) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทยพบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ให้ความรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ที่ผู้สูงอายุสามารถจะไปรับบริการด้านการรักษาพยาบาล เจ้าหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนให้เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆในการออกกำลังกายด้วย ผู้สูงอายุเองต้องการได้สถานที่สำหรับการออกกำลังกายที่อยู่ใกล้บ้านในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนต้องการสถานที่ออกกำลังกายในห้างสรรพสินค้า ในประการสุดท้าย แต่สำคัญเช่นกันก็คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้จัดหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีแก่ผู้สูงอายุในชุมชนของเขาด้วย
                (3) แนวทางการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทยพบว่า นโยบายส่งเสริมการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการเชิงระบบในชุมชน ให้มีศูนย์หรือสถานที่ออกกำลังกายที่เหมาะทุกกลุ่มวัย และพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่จะต้องให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะการประสานบูรณาการเชิงนโยบายให้เกิดระบบการจัดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนตามนโยบายสาธารณะที่กำหนดตามยุทธศาสตร์ชาติ จะต้องบูรณาการ การดำเนินงานในระดับกระทรวง เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฎิบัติแบบบูรณาการ ทั้งในส่วนของหน่วยงานสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวและกีฬา สถาบันการพลศึกษา สถานศึกษา สำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานที่เกี่ยวด้านผังเมืองและคมนาคม ด้านสถานศึกษา การท่องเที่ยวและการกีฬาและหน่วยงานภาครัฐ


* นักศึกษาหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 10170 ดุษฎีนิพนธ์ภายใต้การดูแลของ รองศาสตราจารย์ ดร.สถิตย์ นิยมญาติ
Corresponding author : narathip01@gmail.com

Article Details

How to Cite
เลาหรุ่งพิสิฐ อ. . . (2020). นโยบายการบริหารพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 25–40. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.28
บท
บทความวิจัย

References

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. (2560). ร่างแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายแห่งชาติ. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2562 จาก https://sites.google.com/site/exercisemoph/rang-phaen-yuththsastr-kar-sng-serim-kickrrm-thang-kay-haeng-chati

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2562 จาก https://thaitgri.org/?p=37051

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2548). คู่มือแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุ.กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ศิริพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Hubbard, P., Muhlenkamp, A. F., & Brown, N. (1984). The relationship between social support and self-care practices. Nursing Research. 33 (5), 266–270. https://doi.org/10.1097/00006199-198409000-00004

Miller M.P.(1991). Factors promoting wellness in the aged person: an ethnographic study. ANS Adv Nurs Sci. 13(4) , 38-51. doi: 10.1097/00012272-199106000-00006. PMID: 2059004.

Muhlenkamp, A. F., and Sayles, J. A. (1986). Self-esteem, social support, and positive health practices. Nursing Research. 35(6), 334–338. https://doi.org/10.1097/00006199-198611000-00007

Yu S. A. (1995). study on functioning for independent living among the elderly in the community. Public Health Nurs. 12 (1), 31-40. doi: 10.1111/j.1525-1446.1995.tb00120.x. PMID: 7899222.