แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร

Main Article Content

อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัญหา/อุปสรรค และข้อจำกัดที่มีผลต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร (2) เพื่อศึกษาโอกาสและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารให้เกิดผลในทางปฏิบัติ (3) เพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารและระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคธุรกิจเอกชน และกลุ่มภาคการเมือง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปรายงานผล
                ผลการวิจัยพบว่า
               1. ผลศึกษาปัญหา/อุปสรรค และข้อจำกัดที่มีผลต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารมีปัจจัยสำคัญ ประกอบด้วย 7 ปัจจัย คือ(1)ขาดหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบในการเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน (2)ขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (3)ปัจจัยการผลิตไม่เอื้ออำนวย (4)ข้อจำกัดด้านกฎหมายและสิทธิประโยชน์ (5)ขาดความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ และ (6)ขาดตัวแทนภาคประชาชน
               2. ผลศึกษาโอกาสและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารให้เกิดผลในทางปฏิบัติ มีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ (1) จุดยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่เหมาะสม (2) ปริมาณการค้าชายแดนสูงสุด (3) ความพร้อมรองรับเชิงโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และการศึกษา
               3. เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารและระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีปัจจัยสำคัญ 6 ปัจจัย คือ (1) ต้องส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทุนมนุษย์ (2) ต้องกำหนดตัวแทนภาคประชาชน (3) ต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าพื้นเมืองและสร้างแบรนด์สินค้าสู่ระดับสากล (4) ต้องยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง (5) ต้องส่งเสริมและขยายกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้น และ(6) ต้องกำหนดงบประมาณรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


* นักศึกษาหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 10170 ดุษฎีนิพนธ์ภายใต้การดูแลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉียบ ไทยยิ่ง
Corresponding author : Anurak.economic@gmail.com

Article Details

How to Cite
ตั้งปณิธานนท์ อ. . . (2020). แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 14–24. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.27
บท
บทความวิจัย

References

ชรินทร์ หาญสืบสาย. (2557). เรื่องเล่าจากส.ว.เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2557. จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/warasarn/feb.pdf.

เรวดี แก้วมณี. (2557). ส่องความคืบหน้ากฎหมายเดินเครื่อง “เขตเศรษฐกิจพิเศษ”. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560จาก http://www.oie.go.th .

วิภาดา มุกดา. (2561). ปัญหาจากการรับรู้และความคาดหวังในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (1).199-216.

ศุภชัย วรรณเลิศสกุล. (2550). เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน: โอกาสและอุปสรรคสำหรับประเทศไทย. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: อุบลราชธานี.

สิริวษา สิทธิชัย. (2551). สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2548). เขตเศรษฐกิจพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สุรพงษ์ ปิยะโชติ. (2554). บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ท้องถิ่นกับการส่งเสริมการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษการค้าชายแดนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี. นนทบุรี : มหาวทิยาลยัสุโขทยัธรรมธิราช.