กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในย่านเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิรศักดิ์ จิยะจันทน์

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในย่านเยาวราช 2) เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนในย่านเยาวราช โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนในย่านเยาวราช ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์แบบพหุคูณ
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. กลยุทธ์ทางการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.09,S.D.=0.25) โดยให้ความสำคัญด้านการนำเสนอลักษณะทางด้านกายภาพเป็นลำดับสูงสุด และการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าส่วนใหญ่เคยมาเที่ยว 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน มีแฟน/คู่รักร่วมเดินทาง มีการรับรู้แหล่งข้อมูลมาจากอินเตอร์เน็ต และมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 2,001-5,000 บาท ตามลำดับ
                2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนในย่านเยาวราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น อาชีพที่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                3. ผลการศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวจีน พบว่าปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ (b=0.191) ด้านการส่งเสริมการตลาด (b=0.142) ด้านกระบวนการให้บริการ (b=0.117) และ ด้านลักษณะทางกายภาพ (b=0.130) โดยสมการดังกล่าวมีค่าอำนาจความแม่นยำในการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 11 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้
                Y = 3.460**+ 0.191 X1 *+ 0.072 X2 + 0.091 X3 + 0.142 X4 **+ 0.012 X5 + 0.117 X6 **+ 0.130 X7**
                4. ข้อเสนอแนะในครั้งนี้ ต้องมีการพัฒนามาตรฐานสินค้าและบริการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งการสนับสนุนการสื่อสารด้วยภาษาจีนพื้นฐานซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยก็จะสามารถให้ข้อมูลที่นักท่องเที่ยวจีนต้องการได้ต่อไป


* อาจารย์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 12105
Corresponding author: president@western.ac.th    

Article Details

How to Cite
จิยะจันทน์ จ. (2020). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในย่านเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 320–331. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.24
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564.. กรุงเทพมหานคร: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.

จารุวรรณ มีศิริ. (2553). ส่วนประสมทางการตลาดและรูปแบบการใช้ชีวิตต่อความตั้งใจซื้อจานดาวเทียม DTV ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. การศึกษาเฉพาะบุคคล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬามหาวิทยาลัย.

ชิว หลี่. (2556). ปัจจัยการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวจีนในเขต กรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นิศา ชัชกุล. (2557). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำฝน จันทร์นวล. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวเมืองไทย. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY. 6(2), 53-60.

พรสวรรค์ มโนพัฒนะ. (2553). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วาสนา อินทะแสง. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจคลินิกเสริมความงามที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรสุดา สุขารมณ์. (2552). ความร่วมมือระหว่างองค์การในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และและ สมชาย หิรัญกิตติ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร.(2561). ข้อมูล เขตสัมพันธวงศ์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก http://www.bangkok.go.th/samphanthawong

แสงเดือน รตินธร (2555). ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจ มาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 18 (1).84-104.

Agranoff, R. (2006). Inside collaborative network: Ten lessons for public managers. Public Administration Review. 61(63), 57-59

David F.R. (2007) .Strategic Management. Concepts & cases. (3rd ed.) New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Katsioloudes, M. I. (2006) . Strategic Management : Global Cultural Perspectives for Profit and Non-Profit Organizations( 2th ed.) . Butterworth-Heinemann.

Kotler, P. (1997). Marketing Management Analysis, Planning, Implementation, and Control. (9th ed.). Prentice Hall, Upper Saddle River.

Mondy, R. W. (2008). Human Resource Management. (10th ed.) Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Osborne, S.P. (2010). The new public governance: Emerging perspectives on the theory and practice of public governance. New York : Rout ledge.

Vangen, S., and Huxham, G. (2010).Managing to collaborate. New York : Routledge.